วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 4 การใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับงานพรีเซนเตชั่น


หัวข้อการเรียนรู้
          ฟีเจอร์ใหม่ของ PowerPoint 2007
           หลักการออกแบบหน้าสไลด์
          กฎในการออกแบบหน้าสไลด์
           เครื่องมือในริบบอน (Ribbon)
           ส่วน ประกอบของหน้าต่างโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007
           มุมมอง(View) สไลด์แบบต่างๆ
          การ สร้างงานพรีเซนต์เตชั่นแบบง่ายๆMicrosort Office PowerPoint เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่องาน Presentation โดยเฉพาะมีความสามารถใน
การสร้างงานพรีเซนต์ได้ง่ายและรวดเร็ว สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานพรีเซนต์ตามความต้องการได้อย่าง
สะดวก สวยงามและเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ก็ดึงดูดผู้ชมได้มากกว่าการพรีเซนต์รูปแบบเดิมๆ
ฟีเจอร์ใหม่ของ PowerPoint 2007
             ในส่วนนี้จะกล่าวถึงว่ามีฟีเจอร์อะไรใหม่ๆ บ้างกับการพัฒนาของทาง Microsoft ที่ช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพการท างานของผู้ใช้งาน ซึ่งก็มีอย่างหลายและง่ายต่อการใช้งาน พร้อมทั้งความสามารถในการ
จัดท าเอกสารให้มีรูปแบบที่สวยงามด้วยกราฟิกแบบใหม่ ซึ่งผู้เขียนขออธิบายลักษณะเด่น และ
ความสามารถที่น่าสนใจของ PowerPoint 2007 ดังนี้
อินเตอร์เฟสดูทันสมัยใช้ง่ายกว่าเดิม
             อินเตอร์เฟสหรือหน้าจอโปรแกรมนับเป็นสิ่งแรกที่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ PowerPoint 2007
ได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีการออกแบบปรับโฉมเป็นรูปแบบใหม่ทั้งหมด โดยค านึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลักจึง
ท าให้สามารถเรียกใช้เครื่องมือและค าสั่งต่างๆ ได้สะดวกรวดเร็วขึ้นทูลบาร์เปลี่ยน เป็นริบบอน (Ribbon)
               ริบบอนมีลักษณะคล้ายกับทูลบาร์ที่เราคุ้นเคยกันดีใน PowerPoint 2003 ซึ่งเป็นแหล่งที่ใช้ส าหรับ
รวบรวมเท็บเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการท างานมากขึ้น โดยดึงเอาความสามารถออกมา
จากเมนูค าสั่งที่ซ้อน ๆ กันอยู่จากเวอร์ชั่นเดิม ให้แสดงอยู่ในรูปแบบของปุ่มเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้เห็น
ชัดเจนและคลิกใช้งานได้ ทันที
PowerPoint 2003
PowerPoint 2007สร้าง งานพรีเซนต์ใหม่จาก Template
           ส าหรับการเริ่มสร้างงานพรีเซนต์ใหม่แล้ว PowerPoint 2007 จะช่วยให้คุณสามารถสร้างงานได้อย่าง
รวดเร็วขึ้นจาก Template หรือแม่แบบสไลด์ส าเร็จรูปที่มีให้เลือกมากมาย โดยที่คุณไม่จ าเป็นต้องเริ่ม
ออกแบบงานใหม่ทุกครั้งและยังสามารถดาว์นโหลดแม่แบบเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ Microsoft.com ได้อีก
ด้วยออกแบบสไลด์ได้อย่างมืออาชีพ
       Microsoft PowerPoint 2007 ยังมีเครื่องมือที่จะช่วยให้งานพรีเซนต์ของคุณเป็นมืออาชีพได้ง่ายๆ ด้วย
การออกแบบส าเร็จรูปที่พร้อมให้เลือกอย่างจุใจ อย่างเช่น การออกแบบพื้นหลังสไลด์ด้วย Themes Design
การปรับแต่งข้อความศิลป์ด้วย Word Art Style รวมทั้งการเลือกสีสันตามใจชอบด้วย Themes Color เป็นต้น
Word Art Style
Themes Color Themes Design
ก าหนด เอฟเฟ็กต์การเปลี่ยนสไลด์ได้ทันที
           ในโปรแกรม PowerPoint 2007 สามารถก าหนดเอฟเฟ็กต์การเปลี่ยนสไลด์หรือการเคลื่อนไหวของ
อ็อบเจ็กต์ได้ง่ายๆ จากริบบอนที่อยู่ทางด้านบน โดยมีลักษณะเป็นรูปไอคอนเล็ก ๆ ซึ่งจะช่วยให้คุณเห็นภาพ
การเปลี่ยนแปลงของเอฟเฟ็กต์ได้ชัดเจน และเลือกได้ถูกใจมากขึ้นการเปลี่ยน แปลงสไลด์ที่หลากหลายและเห็นตัวอย่างทันที
ปรับ แต่งภาพกราฟิกให้สวยงามเพียงคลิกเดียว
        ส าหรับผู้ที่ไม่ถนัดทางด้านการออกแบบศิลปะแล้วทาง Microsoft Office PowerPoint 2007 ก็ได้
ออกแบบโปรแกรมให้มีเครื่องมือที่ใช้ส าหรับแต่งภาพขึ้นมาด้วย ในชื่อเครื่องมือ Picture Styles ซึ่งเพียงเรา
เลือกรูปแบบที่ต้องการ ภาพก็จะถูกปรับแต่งออกมาสวยงามน่ามอง
มีสมาร์ทอาร์ต (SmartArt)
               ส าหรับ งานที่จ าเป็นต้องสร้างไดอะแกรมหรือผังองค์กรแล้ว SmartArt จะช่วยให้เราท างานได้
อย่างไม่ยากเย็น ทั้งยังช่วยให้มีความสวยงามมากขึ้นอีกด้วย เพราะภายในชุดตัวเลือกนี้จะมีรูปแบบของ
ไดอะแกรมให้เลือกมากมายรองรับกับงาน ทุกประเภทท างาน ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
             หากคุณมีการพรีเซนต์งานที่เกี่ยวข้องกับการน าเสนอด้วยกราฟหรือแผนภูมิแล้วละก็ Microsoft
Office PowerPoint 2007 สามารถช่วยคุณได้เนื่องจากโปรแกรม Power Point 2007 และ Excel 2007 จะ
ท างานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการปรับแต่งหรืออัพเดตข้อมูลตัวเลขในกราฟ ซึ่งสามารถท า
ได้โดยตรง โดยไม่ต้องเสียเวลาคัดลอกข้อมูลเหมือนเช่นเดิม
หลักการออกแบบหน้าสไลด์
               ในบางครั้งผู้สร้างงาน Presentation จะมีความสงสัยว่า มีหลักการอย่างไรบ้างที่จะท าให้การสร้าง
งานน าเสนอในแต่ละหน้ามีความน่าสนใจ และถูกหลักในการออกแบบ เพื่อส่งเสริมให้งาน  Presentation
สมบูรณ์โดยทั่วไปการออกแบบหน้าสไลด์ที่ถูกต้องจะมีหลักการดังนี้
การเลือกพื้นหลังสไลด์
  พื้นหลัง (Background)          
        เป็นปัจจัยแรกที่ส่งผลกับการออกแบบและผู้รับข้อมูลโดยตรง เพราะถ้าพื้นหลังไม่ดี จะท าให้ดูแล้วไม่
สบายตา  ดังนั้น จึงต้องมีหลักการเพื่อเป็นพื้นฐานของแนวคิดดังนี้การเลือกใช้ภาพประกอบ
          การเลือกใช้ภาพ เป็นการเสริมให้สไลด์ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไป จะท าให้เกิดความสับสน
กับข้อมูล   ที่น าเสนอได้ ดังนั้นจึงมีวิธีการในการ เลือกใช้ภาพ ให้เหมาะสมดังนี้
1. ภาพที่น ามาใช้ต้องส่งเสริมข้อความที่น าเสนอ
2. ไม่ควรมีอักษรในภาพถ้าไม่จ าเป็น
3. ภาพที่น ามาใช้ไม่ควรใช้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มากเพราะจะท าให้โปรแกรมท างานหนักขึ้น
การเลือกใช้ข้อความที่มีขนาดเหมาะสม
         ขนาดของข้อความเป็นส่วนประกอบหนึ่ง ที่ส าคัญที่จะช่วยให้การน าเสนอมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ในการสื่อให้ผู้ที่มารับข้อมูลเข้าใจ โดยมีหลักการดังนี้
1. ตัวอักษรต้องอ่านง่าย โดยปกติตัวอักษรควรมีขนาดตั้งแต่ 36-60 Point และควรเป็นตัวหนา เพื่อจะสื่อได้
ชัดเจนมากขึ้น
2. ในหนึ่งสไลด์ไม่ควรใช้แบบตัวอักษรเกิน 2 ประเภทเพื่อความสวยงาม
การเลือกสีในการออกแบบ
         สีนับว่าเป็นส่วนส าคัญของการออกแบบหน้าจอ แม้ว่าโปรแกรมจะแสดงด้วยจอสีแต่ก็ไม่ได้
หมายความว่าจะใช้สีได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ใช้จะต้องใช้สายตาดูจอคอมพิวเตอร์เป็น
เวลานาน ถ้าโปรแกรมน าเสนอด้วยสีร้อน (Warm Colors) อาจท าให้เกิดความระคายเคือง สายตาของผู้ใช้ได้  สีร้อน (Warm Color)
         สีโทนร้อน คือ สีที่ให้ความหมายรื่นเริง สดชื่น ฉูดฉาด บาดอารมณ์ นับจากโทนสีเหลือง ชมพูแดง
ส้ม ม่วง น้ าตาล สีเหล่านี้ให้ความหมายเร่าร้อน มีอิทธิพลต่อการดึงดูด และกระตุ้นอารมณ์ได้มากกว่าโทนสี
อื่น ๆ สีเหล่านี้จะใช้มากกับงานประเภทหัวหนังสือ นิตยสาร แคตตาล็อก ตลอดจนป้ายโฆษณาต่างๆ ซึ่งจะ
กระตุ้นความสนใจต่อผู้พบเห็นได้เร็ว
 
สีเย็น (Cool Colors)
         เริ่ม จากสีเทา ฟ้า น้ าเงิน เขียว สีโทนนี้จัดอยู่ในสีโทนเย็น ให้อารมณ์ความรู้สึกสงบ สะอาด เย็นสบาย
กฎในการออกแบบหน้าสไลด์
           ในการสร้างสไลด์ในแต่ละหน้านั้น ผู้ใช้ควรมีกฎที่เป็นแนวทางในการสร้างงานน าเสนอก่อน เพื่อ
ไม่ให้เกิดความสับสน โดยพอสรุปกฎได้ดังนี้
    ในแต่ละสไลด์ควรมีหัวเรื่องเพื่อบอกถึงสิ่งที่จะอธิบาย
    ตัวอักษรควรใช้ขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้รับฟังและรับชมสามารถมองเห็นอย่างชัดเจน
    ควรใช้ค าสั้นๆ ที่อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและน่าติดตาม
     หัวข้อของเนื้อหาไม่ควรเกิน 8 บรรทัดในหนึ่งสไลด์เพราะถ้ามีมากเกินไปจะส่งผลท าให้สื่อได้ไม่ชัดเจน
    ไม่ควรน าภาพมาเป็นพื้นหลัง (Background) เพื่อจะท าให้อ่านยาก
    การใส่รูปภาพสงในสไลด์ควรใช้ขนาดพอสมควรไม่ใหญ่เกินไปเครื่องมือต่างๆในริบบอน
ริบบอนหน้าแรก (Home)
    ส าหรับริบบอนหน้าแรก (Home) จะประกอบไปด้วยปุ่มค าสั่งที่เกี่ยวกับการจัดรูปแบบตัวอักษร การ
คัดลอกข้อความ การเปลี่ยนขนาดตัวอักษร และอื่นๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มหมายเลข ความหมาย
1
ชุด คลิบบอร์ด
คัดลอก เคลื่อนย้ายและคัดลอกรูปแบบ
2
ชุด ภาพนิ่ง
แทรกสไลด์ ลบสไลด์ เค้าโครง และตั้งค่าสไลด์
3
ชุด แบบอักษร
จัดรูปแบบตัวอักษร
4
ชุด ย่อหน้า
จัดต าแหน่ง และย่อหน้า
5
ชุด รูปวาด
ส าหรับวาดรูป และจัดรูปแบบรูปวาด6
ชุด การแก้ไข
ค้นหา และแทนที่ข้อความ
ริบบอนแทรก (Insert)
กลุ่มหมายเลข ความ หมาย
1
แทรก ตาราง
2
ชุด ภาพประกอบ
แทรกรูปภาพจากแฟ้ม ภาพตัดปะอัลบั้มรูป การ
วาดรูป (Drawing) ผังองค์กร และแผนภูมิ
3
การเชื่อมโยง
การเชื่อมโยงหลายมิติแลก าหนดการการท า
4
ชุด ข้อความ
แทรกอักษรศิลป์แทรกวันและเวลา แทรก
สัญลักษณ์พิเศษ เครื่องหมายการค้าลิขสิทธิ์5
ชุด มีเดียคลิป
แทรกภาพยนตร์ และเสียง
ริบบอนออกแบบ (Design)
ริบบอนนี้เป็นการรวม Background ต่างๆ เพื่อน ามาช่วยในการออกแบบหน้าสไตด์ให้ดูสวยงามมากขึ้น โดย
เพียงคลิกเลือกริบบอนที่ต้องการ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มหมายเลข ความหมาย
1
ชุด ตั้งค่ากระดาษ
ก าหนดขนาดระยะขอบเอกสารสไลด์ก าหนดการ
วางแนวหน้าสไลด์ให้เป็นแนวตั้ง
และแนวนอน
2
ชุด รูปแบบ
ชุดของลักษณะ สีและรูปแบบพื้นหลังต่างๆ ที่ใช้
ในหน้าสไลด์
3
พื้น หลัง
เปลี่ยนสีของพื้นหลังจากรูป แบบที่เลือก และซ่อน
กราฟิกพื้นหลังริบบอนภาพเคลื่อนไหว (Animation)
  ริบบอนที่รวบรวมภาพเคลื่อนไหว ( Animation) ระหว่างฉากเอาไว้เพื่อให้ผู้ใช้งานเลือกน าไป
ประกอบการน าเสนอให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มหมายเลข ความ หมาย
1
แสดง ตัวอย่าง
2
ชุด ภาพเคลื่อนไหว
เปิดหน้าต่างการเคลื่อนไหวก าหนดเอง เพื่อใช้ใน
การก าหนดรูปแบบ เคลื่อนไหว
วัตถุตามต้องการ
3
ชุด การเปลี่ยนไปยังภาพนิ่งนี้
เป็นชุดของลักษณะแบบการ เคลื่อนไหวต่างๆ ที่
ใช้ในภาพนิ่ง
4
ก าหนดเสียงที่จะล่นระหว่างเปลี่ยนภาพนิ่งก่อน
หน้าและปัจจุบัน เช่น
คลิกแล้วมีเสียงพิมพ์ดีดและก าหนดความเร็วของ
ภาพเคลื่อนไหว
ที่จะเล่นระหว่างเปลี่ยนแปลงภาพนิ่ง5
ก าหนดเมื่อคลิกเมาส์แล้วเปลี่ยนภาพนิ่ง หรือ
ก าหนดอัตโนมัติ
หลังจากเวลาที่ก าหนดให้เปลี่ยนภาพนิ่ง
ริบบอนการน าเสนอภาพนิ่ง (Slide Show)
กลุ่มหมายเลข ความ หมาย
1
ชุด เริ่มการน าเสนอภาพนิ่ง
แสดงการน าเสนอภาพนิ่งตั้งแต่ภาพ นิ่งแรก
ก าหนดให้แสดงผลภาพนิ่ง
ที่เลือก ก าหนดล าดับภาพนิ่ง ที่ต้องการ ให้แสดง
2
ชุด ตั้งค่า
เปลี่ยนค่าแสดงภาพนิ่ง เช่น ชนิดการน าเสนอ
ตัวเลือกการน าเสนอ
การซ่อนภาพนิ่งที่ เลือกระหว่างการน าเสนอแบบ
เต็มจอ
บันทึกค าบรรยาย ทดสอบการก าหนดเวลา
3
ชุด จอภาพ
ก าหนดความละเอียดของหน้าที่จะ น าเสนอและ
การเชื่อมต่อจอภาพหลายๆ
หน้าจอริบบอนตรวจทาน (Review)
ริบบอนตรวจทานจะ ประกอบไปด้วยปุ่มค าสั่งที่เกี่ยวกับการตรวจทาน การสร้างข้อคิดเห็น และการป้องกัน
เอกสาร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มหมายเลข ความหมาย
1
ชุด การพิสูจน์อักษร
ตรวจสอบและสะกดไวยกรณ์ของข้อความใน
เอกสาร
ค้นหาเกสารอ้างอิง เสนอค าแนะน า ก าหนดภาษา
ในการตรวจสอบ และสะกดไวยากรณ์
2
ชุด ข้อคิดเห็น
แสดงข้อคิดเห็นและค าอธิบาย สร้างข้อคิดเห็น
เพิ่มเติม
ในส่วนที่ต้องการแก้ไข ลบ ข้อคิดเห็น
3
ป้องกันความปลอดภัยให้ไฟล์น าเสนอริบบอนมุมมอง ( View )
  ริบบอนมุมมองจะประกอบไปด้วยปุ่มค าสั่งที่ เกี่ยวกับการเปลี่ยนมุมมอง การย่อขยาย และการจัดเรียงหน้า
ภาพนิ่ง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มหมายเลข ความ หมาย
11
ชุด มุมมองการน าเสนอ
เป็นการแสดงมุมมองแบบต่าง ๆ ซึ่งมีแบบปกติ
ตัวเรียงล าดับภาพนิ่ง หน้าบันทึกย่อ การน าเสนอ
ภาพนิ่ง
ต้นแบบภาพนิ่ง ต้นแบบเอกสารประกอบค า
บรรยาย
ต้นแบบบันทึกย่อ
2
แสดง/ซ่อน
แสดงหรือซ่อนไม้บรรทัดและเส้นตารางเพื่อใช้
ในการจัดเรียงวัตถุ
3
ย่อ/ขยาย
ย่อขยายภาพนิ่ง หรือจัดภาพนิ่งให้พอดีกับหน้าต่าง
4
ชุด สี/ระดับสีเทา
แสดงผลการน าเสนอภาพนิ่งเป็นแบบ 4 สี5
ชุด หน้าต่าง
เปิดหน้าต่างใหม่ที่มีมุมมองของ เอกสารใน
ปัจจุบัน จัดเรียงหน้าต่างเอกสาร
ที่เปิดไว้ทั้งหมด การเคลื่อนย้าย ตัวแยกที่คั่นอยู่ ใน
หน้าต่างโปรแกรม
6
แม โคร
การใช้งานมาโคร (ชุดเก็บค าสั่งหรือขั้นตอนการ
ท างาน
ส าหรับเรียกใช้ผ่านทางคีย์ลัดหรือปุ่มค าสั่ง
ริบบอน Add-in
ริบบอน Add-in ใช้ก าหนดแถบเครื่องมือตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้เอง
มุมมอง (View) สไลด์แบบต่างๆ
ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 สามารถแสดงมุมมองเอกสารได้หลายรูปแบบ โดยแต่ละแบบมี
รายละเอียด ดังนี้
มุมมองปกติ (Normal View)
           ส าหรับมุมมองปกติ (Normal View) เป็นมุมมองพื้นฐานในการใช้งานของ Microsoft PowerPoint
2007 ในการเริ่มต้นใช้งานทุกครั้งผู้ใช้งานจะเห็นมุมมองนี้เป็นอย่างแรก โดยจะมีส่วนประกอบอยู่สองส่วน
ทางด้านซ้ายมือของโปรแกรมนั่นคือแท็บภาพนิ่งและแท็บเค้าร่าง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้          แท็บภาพนิ่ง (Slide View)
         จะแสดงภาพนิ่งทั้งหมดโดยเรียงล าดับจากภาพนิ่งแรกจนภาพนิ่งสุดท้าย
          แท็บเค้าร่าง (Outline View)
            จะแสดงภาพนิ่งและรายละเอียดทั้งหมดไว้ด้านข้าง โดยเรียงล าดับจากภาพนิ่งไปจนถึงภาพนิ่ง
สุดท้าย  มุมมองตัวเรียงล าดับภาพนิ่ง (Slide Sorter View)
          เป็นมุมมองที่แสดงภาพนิ่งทั้งหมดของการน าเสนอ โดยย่อให้ภาพนิ่งมีขนาดเล็กลง เพื่อแสดงภาพนิ่ง
ทั้งหมดภายในหน้าต่างโปรแกรม ท าให้สามารถตรวจสอบล าดับภาพนิ่ง และจัดเรียงก่อนการน าเสนอได้
อย่างถูกต้อง
มุมมองหน้าบันทึกย่อ (Notes Page View)
         เป็นมุมมองที่ใช้แสดงภาพนิ่งและกรอบบันทึกข้อความ เพื่อให้ผู้น าเสนอสามารถบันทึกรายละเอียด
ค าอธิบายต่างๆ เพื่อใช้เป็น เอกสารอ้างอิงมุมมองการน า เสนอภาพนิ่ง (Slide Show View)
          เป็นมุมมองที่แสดงภาพนิ่งแบบเต็ม จอเหมือนกับการฉายสไลด์ โดยสามารถที่จะเปลี่ยนไปหน้าต่างๆ
รวมไปถึงแสดงภาพเคลื่อนไหวที่ได้สร้างไว้
มุมมองต้นแบบภาพนิ่ง (Slide Master View)
          เป็นมุมมองที่แสดงต้นแบบโครงร่างต่างๆ ที่มีหลายองค์กรประกอบรวมกัน และท าให้งานเสนอไปใน
ทิศทางเดียวกัน เช่น ข้อความ รูปภาพ หรือกราฟิก เป็นต้นมุม มองต้นแบบเอกสารประกอบค าบรรยาย (Handout Master View)
             เป็นมุมมองที่แสดงต้นแบบเอกสารก่อนพิมพ์พร้อมทั้งการแก้ไขสามารถท าได้กับต้นแบบเอกสาร
ประกอบค าบรรยาย เช่น การปรับขนาด การจัดรูปแบบ หัวกระดาษ และท้ายกระดาษ และยังสามารถตั้งค่า
กระดาษ และระบุจ านวนภาพนิ่งที่จะพิมพ์ในแต่ละหน้าได้อีกด้วย
มุมมองต้นแบบบันทึกย่อ (Note Master)
           เป็นมุมมองที่แสดงต้นแบบภาพนิ่ง แต่จะมีส่วนของพื้นที่ในการบันทึกข้อความเพื่อใช้ในการ
ประกอบการบรรยาย
สร้างงานพรีเซนเตชั่นแบบง่ายๆ
          เมื่อได้ทราบถึง หลักการออกแบบหน้าสไลด์เพื่อการสร้างงาน Presentation กันไปแล้วให้หัวข้อนี้
ผู้เขียนจะแสดงการสร้างงาน Presentation แบบง่ายๆ ว่าจะมีขั้นตอนเบื้องต้นอย่างไรบ้าง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้การเปิดโปรแกรม PowerPoint 2007
1. คลิก Start Menu
2. คลิกเลือก Programs
3. คลิก Microsoft Office
4. คลิกเลือก Microsoft PowerPoint2007
5. ปรากฏหน้าจอโปรแกรม Microsoft Office PowerPoint 2007   สร้างสไลด์แผ่นใหม่
การสร้าง สไลด์ใหม่ในโปรแกรม Microsoft Powerpoint 2007 จะสร้างสไลด์ที่ไม่มีข้อความหรือรูปภาพ
ใดๆ อยู่ในเอกสาร ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม (Office)
2. คลิกเลือกว่างและล่าสุด
3. คลิกที่งานน าเสนอเปล่า
4. คลิกปุ่ม สร้าง
  พิมพ์ข้อความลงในสไลด์
เมื่อเปิดหน้าสไลด์แล้วจะพบว่า มีพื้นที่สีขาวส าหรับพิมพ์ข้อความลงไป โดยการเริ่มต้นพิมพ์ข้อความลงใน
สไลด์มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกให้ปรากฏเส้นเคอร์เซอร์ตรงบริเวณกรอบที่ต้องการพิมพ์ตัวอักษร
 
2. พิมพ์ข้อความตามต้องการ เมื่อพิมพ์ข้อความจนสุดบรรทัด โปรแกรมจะขึ้นบรรทัดใหม่ ให้โดยอัตโนมัติ
(หากต้องการลบข้อความหรือค าผิดก็ให้แดรกเมาส์ เลือกข้อความ จากนั้นกดปุ่ม <Backspace> ที่คีย์บอร์ด)การจัดข้อความให้สวย
1. คลิกข้อความที่จะจัด
2 คลิกรูปแบบ
3. คลิกเลือกเครื่องมือที่ Ribbon โดยจัดตามต้องการพื้นหลังสไลด์ (Background)
          หลังจากที่ผู้ใช้พิมพ์ข้อมูลไปในกรอบแล้วยังมีอีกความสามารถหนึ่งของโปรแกรมนั่นก็คือการใส่
ภาพพื้นหลังแบบต่างๆ ที่มีมาให้เลือกใน Microsoft PowerPoint 2007 โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกแท็บออกแบบ (Design)
2. คลิกเลือกแม่แบบที่ต้องการ (ผู้ใช้สามารถน าเมาส์เลื่อนไปยัง Background อื่นก่อนได้ ซึ่งโปรแกรมก็จะ
พรีวิว Background นั่นให้ดูตัวอย่าง เมื่อถูกใจจึงคลิกเลือก)
3. จะปรากฏพื้นหลังตามต้องการ   การแทรกรูปภาพเข้ามาในสไลด์
1. คลิกแท็กแทรก (Insert)
2. คลิกปุ่ม รูปภาพ เพื่อเลือกรูปภาพที่จะน ามาใส่ในสไลด์
3. จะปรากฏหน้าต่างแทรกรูปภาพขึ้นมา ให้เลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ภาพ
4. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
5.  คลิกปุ่ม แทรก (Insert) เพื่อแทรกรูปในสไลด์การเพิ่มความสวยให้กับรูปภาพ
โปรแกรม Powerpoint สามารถตกแต่งรูปภาพที่น าเข้ามาในสไลด์ให้สวยงามยิ่งกว่าเดิมได้ โดยวิธี
1. คลิกภาพในสไลด์ที่จะจัด
2. คลิกรูปแบบ
3. คลิกเลือกแบบที่ต้องการเพิ่มหน้าสไลด์ใหม่เข้ามา
ผู้ใช้งาน สามารถเพิ่มจ านวนหน้าสไลด์ได้เมื่อต้องการสร้างหน้าสไลด์ใหม่ใน Microsoft Power 2007 นั่น
คือ การเพิ่มรูปเข้าไปในสไลด์ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม หน้าแรก
2. คลิกเลือก สร้างภาพนิ่ง
3. จะได้สไลด์เพิ่มขึ้นมาสร้างลูกเล่นเมื่อเปลี่ยนแผ่นสไลด์
    จากการที่ได้สร้างสไลด์ที่ผ่านมาจะพบว่าการสร้างจะมีลักษณะเหมือนการเปลี่ยนหน้าหนังสือ ซึ่งดูแล้ว
ไม่น่าสนใจ ซึ่งเราควรที่จะเพิ่มลูกเล่น (Effects) เข้าไป ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกหน้าสไลด์ที่จะใส่Effect
2. คลิกแท็บภาพเคลื่อนไหว (Animation)
3.  คลิกเลือกรูปแบบ Effects ที่ต้องการ(ซึ่งจะมีตัวอย่างของเอฟเฟ็กต์แสดงขึ้นมาให้ดูด้วยระหว่างที่เลือก)
4. จะแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงให้เห็น
  5. สังเกตจะมีดาวปรากฏขึ้นในสไลด์
 
การน าเสนอสไลด์
       หลังจากที่ได้สร้างสไลด์กันไปแล้วก่อนจะจบขั้นตอนผู้สร้างควรทดลองดูว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง
ก่อนการน าเสนอจริง ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกแท็บ การน าเสนอภาพนิ่ง (Slide Show)
2. คลิกปุ่ม ตั้งแต่ต้น เพื่อเริ่มแสดงการฉายสไลด์ตั้งแต่สไลด์แรก3.  สไลด์จะปรากฏเต็มจอคอมพิวเตอร์
 
4. กดปุ่ม Enter ที่คีย์บอร์ด โปรแกรมจะเปลี่ยนหน้าสไลด์ทีละหน้า
  5. เมื่อสิ้นสุดจะปรากฏหน้าจบการน าเสนอภาพนิ่ง
6. กดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดอีกครั้ง ก็จะกลับเข้าสู่หน้าโปรแกรมหลัก (หากในระหว่างการปรีเซนต์ต้องการ
ออกสู่หน้าโปรแกรมหลักทันทีให้กดปุ่ม <Esc> บนคียร์บอร์ด)
 
การบันทึกไฟล์PowerPoint
         จากขั้นตอนสร้างงาน Presentation พร้อมทั้งทดลองตรวจสอบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้าย คือ
การบันทึกไฟล์PowerPoint ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งการบันทึกไฟล์
PowerPoint มีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม (office)
2. คลิก บันทึก
3. เลือกต าแหน่งที่ใช้ในการเก็บเอกสาร ในช่องบันทึกใน (Save in)
4. ตั้งชื่อเอกสารในช่องชื่อแฟ้ม (File name) ในตัวอย่างผู้เขียนใช้ ทัศนคติที่ดีในการท างาน
5. คลิกปุ่ม บันทึก เพื่อยืนยันการบันทึก
6. ปรากฏชื่อไฟล์ที่บันทึกบนแท็บชื่อหัวเรื่อง (Titlebar) ชื่อครูจริยาภรณ์ คุ้มพันธ์ต าแหน่งครู
โรงเรียน ชุมชนวัดเสด็จ
อ าเภอเมืองจังหวัดปทุมธานี
ส านักงานเขตพื้นที่การศึกษา ปทุมธานีเขต 1
E-mail : aoy64@hotmail.com
www: http://www.chorsor.ac.th

หน่วยที่ 3 การวางโครงร่างและการจัดการกับสไลด์


นอกจากการสร้างงานพรีเซนเตชั่น  และการตกแต่งสไลด์ให้ดูสวยงาม  และน่าติดตาม  โดยใช้ภาพ ข้อความ  และกราฟ  ยังจะต้องพิจารณารายละเอียดในการนำเสนองานพรีเซนเตชั่นด้วย  โดยเมื่อลองทดลองนำเสนอ  งานดูก็จะเห็นว่าสไลด์นั้นถูกนำเสนอแบบเรียบๆ  ซึ่งหากต้องการทำให้งานพรีเซนเตชั่นนั้นดูน่าสนใจกว่านี้  ก็สามารถเพิ่มลูกเล่นหรือเอฟเฟคควบคุมการแสดงภาพองค์ประกอบต่างๆ  ที่เป็นข้อความ  ภาพ  กราฟ  บนสไลด์ได้  และเพิ่มเสียง  หรือภาพยนตร์ที่เร้าใจน่าติดตามได้
  ใส่ลูกเล่นให้กับวัตถุด้วย  Animation  Schemes
                ในสไลด์ที่ประกอบด้วยวัตถุต่างๆ  ที่เป็นข้อความ  ภาพ  และกราฟนั้น  เราสามารถใส่เอฟเฟคให้วัตถุเหล่านี้แสดงเคลื่อนไหวออกมาได้อย่างน่าตื่นเต้น  โดยจะใช้  Animation schemes  ซึ่งเป็นคำสั่งสำเร็จรูปที่ช่วยกำหนดการเคลื่อนไหวให้กับวัตถุในสไลด์ทั้งแผ่น  โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลากำหนดเอฟเฟคให้กับวัตถุทีละตัว
1.       Click  mouse  เลือกสไลด์ที่ต้องการกำหนดเอฟเฟคให้กับวัตถุ
2.       เลือกคำสั่ง  Slide  Show>Animation  schemes  (นำเสนอภาพนิ่ง>โครงร่างภาพเคลื่อนไหว)  จะปรากฏรูปแบบลูกเล่นต่างๆ  ให้เลือก
3.       Click  mouse  เลือกเอาเอฟเฟคการเคลื่อนไหว  ซึ่งแต่ละเอฟเฟคนอกจากจะมีการเคลื่อนไหวแล้วยังอาจมีเสียงประกอบด้วย
4.       Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูผลลัพธ์การใส่เอฟเฟคให้กับวัตถุ
9.2  กำหนดลูกเล่นให้กับวัตถุด้วยตนเอง
            ถ้าเทคนิคการแสดงวัตถุที่มีใน  PowerPoint  นั้นยังไม่ถูกใจ  นักพรีเซนที่มีจินตนาการ  และมีความคิดที่สร้างสรรค์ก็สามารถออกแบบรูปแบบการแสดงของแต่ละวัตถุได้เอง  นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มความตื่นเต้นด้วยการใช้เสียงประกอบในระหว่างการแสดงวัตถุได้อีกด้วย  ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1.        Click  mouse  ปุ่มขวาเลือกวัตถุที่ต้องการกำหนดเอฟเฟค
2.       เลือกคำสั่ง  Custom  Animation  (การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง)
3.       Click  mouse  ปุ่มไอคอน  Add  Effect  แล้วเลือกเอฟเฟคที่ต้องการ
4.       เลือกวิธีการสั่งให้สไลด์เริ่มต้นแสดงเอฟเฟค  จากตัวเลือกในช่อง  Start  โดย
§   On  Click                            สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้หลังจาก  Click  mouse
§   With  Previous  สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้ต่อจากวัตถุก่อนหน้านี้ได้ทันที
§   After  Previous สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้ต่อจากวัตถุก่อนหน้านี้ตามค่าเวลาที่กำหนด
5.       กำหนดทิศทางที่จะให้วัตถุปรากฏออกมาได้จาก  Direction  ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของเอฟเฟคที่เราเลือก  เช่น  Horizontal  ปรากฏในทางแนวนอน  หรือ  Vertical  ปรากฏในทางแนวตั้ง
6.       Click  mouse  กำหนดความเร็วในการแสดงเอฟเฟค  จากช่อง  Speed
§   Very  Slow                          ช้ามาก
§   Slow                                      ช้า
§   Medium                               ปานกลาง
§   Fast                                       เร็ว
§   Very  Fast                           เร็วมาก
7.       Click  mouse  เลือก  Effect  Options  (เพื่อกำหนดค่าต่างๆและเสียงประกอบเอฟเฟค)
8.       Click  mouse  เลือกเสียงประกอบในการแสดงวัตถุ  จากช่อง  Sound
9.       กำหนดสิ่งที่ทำหลังจากแสดงเอฟเฟคเรียบร้อยแล้วจากช่อง After  animation  โดย
§   More  color  กำหนดให้วัตถุเปลี่ยนเป็นสีตามที่กำหนด  หลังจากที่เราทำเอฟเฟคเสร็จแล้ว
§   Don’t  Dim  กำหนดให้วัตถุเป็นเหมือนเดิม  หลังจากที่เราทำเอฟเฟคเสร็จแล้ว
§   Hide  After  Animation  ไม่แสดงวัตถุนี้  หลังจากที่เราทำเอฟเฟคเสร็จแล้ว
§   Hide  on  Next  Mouse  Click  ไม่แสดงวัตถุนี้หลังจาก  Click  mouse  แสดงวัตถุชิ้นต่อไป
10.    Click  mouse  ปุ่ม  OK
11.   Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดค่า
9.3  กำหนดเอฟเฟคให้กับข้อความ
                ตัวอย่างต่อไปนี้จะเพิ่มลูกเล่นให้กับการแสดงข้อความ  โดยให้เคลื่อนที่เข้ามาในสไลด์พร้อมกับเสียงประกอบที่น่าสนใจ
                สำหรับวิธีการกำหนดคุณลักษณะต่างๆ  ของเอฟเฟค  และการตั้งค่าเวลาในการแสดงเอฟเฟคให้กับข้อความนั้น  สามารถทำได้เหมือนกับการกำหนดเอฟเฟคให้กับวัตถุที่เป็นรูปภาพ  แต่จะมีการกำหนดเอฟเฟคการแสดงตัวอักษรในข้อความที่แตกต่างออกไป
ตัวอย่างการใช้เทคนิคแสดงข้อความในสไลด์
1.       Click  mouse  ปุ่มขวาเลือกข้อความที่ต้องการใส่เอฟเฟคในการนำเสนอ
2.       เลือกคำสั่ง  Custom  Animation…(การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง)
3.       Click  mouse  เลือกเอฟเฟคที่ต้องการ
4.       Click  mouse  กำหนดความเร็วของ  Effect
5.       Click  mouse  เลือก  Effect  Options
6.       Click  mouse  เลือกกำหนดทิศทางการแสดงข้อความ
7.       Click  mouse  เลือกเสียงประกอบในการแสดงวัตถุ
8.       ในช่อง  After  animation  ให้กำหนดสิ่งที่ต้องการให้ทำหลังจากแสดงข้อความเสร็จ
§   รายการสี  เปลี่ยนสีข้อความตามสีที่เลือก
(หากเราต้องการใช้สีอื่นที่ไม่มีในรายการ  ให้เลือก  More  Colors…)
§ Don’t  Dim  ไม่ต้องทำอะไรกับข้อความ
§ Hide  After  Animation  ซ่อนข้อความนั้น
§ Hide  on  Next  Mouse  Click  เมื่อ  Click  mouse  ครั้งต่อไปให้ซ่อนข้อความนั้น
9.             ในช่อง  Animate  Text  ให้กำหนดรูปแบบการแสดงข้อความ  ดังนี้
§ All  At  once       แสดงข้อความในแต่ละหัวข้อทั้งหมดพร้อมกัน
§ By  Word             แสดงข้อความทีละคำ
§ By  Letter            แสดงข้อความทีละตัวอักษร
10.          Click  mouse  แท็บ  Text  Animation
11.          ในช่อง  Group  text  ให้กำหนดรูปแบบการแสดงข้อความเป็นกลุ่ม  ดังนี้
§ As  one  object  จะแสดงหัวข้อแต่ละหัวข้อเรียงลงมาจนหมดข้อความ
§ All  paragraphs  at  once  จะแสดงหัวข้อ  และหัวข้อย่อยทั้งหมดในครั้งเดียว
§ By  1st  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  1  ขึ้นก่อนและจะแสดงหัวข้อลำดับที่  1  ตัวถัดไป
§ By  2nd  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อลำดับหนึ่งก่อน  และจะแสดงหัวและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  2
§ By  3rd  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อลำดับหนึ่งก่อน  ตามด้วยหัวข้อที่  2  และแสดงหัวข้อและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  3
§ By  4th  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อลำดับหนึ่งก่อน  ตามด้วยหัวข้อที่  2  ตามด้วยหัวข้อที่  3  และแสดงหัวข้อและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  4
§ By  5th  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อลำดับหนึ่งก่อน  ตามด้วยหัวข้อที่  2  ตามด้วยหัวข้อที่  3      ตามด้วยหัวข้อที่  4  และแสดงหัวข้อและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  5
              ในกรณีที่มีการจัดการข้อความในสไลด์เป็นหัวข้อย่อยหลายระดับ  (กำหนดได้ในมุมมอง  Outline View)  เราสามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้แสดงข้อความให้อิงกับระดับหัวข้ออย่างไร  เช่น  ถ้าเราเลือก 1st  จะเป็นการแสดงหัวข้อย่อยทั้งหมดซึ่งอยู่ในลำดับที่หนึ่งพร้อมกัน
               แต่ถ้าเราเลือก  2nd  จะเป็นการเริ่มโดยแสดงหัวข้อในลำดับหนึ่งก่อน  ต่อจากนั้นเมื่อเรา  Click mouse  หรือถึงเวลาที่กำหนดจึงแสดงหัวข้อย่อยที่เหลือที่อยู่ในลำดับที่  2
              ถ้าเราเลือก  In  reverse  order  จะเป็นการแสดงลำดับหัวข้อย่อยตามที่กำหนดในขั้นตอนที่แล้วจากหลังมาหน้า  แทนจากหน้ามาหลัง
1.              Click  mouse  ปุ่ม  OK
2.             Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดค่า
9.4  กำหนดเอฟเฟคในการนำเสนอกราฟ
          การใช้เอฟเฟคในการนำเสนอกราฟจะทำให้สามารถสั่งแสดงกราฟทีละส่วนได้  เช่น  สำหรับการแสดงกราฟยอดขายตามช่องทาง  อาจให้แสดงกราฟของแต่ละช่องทางได้ทีละชุด  เป็นต้น


1.             Click  mouse  ปุ่มขวาเลือกกราฟที่จะกำหนดเอฟเฟค
2.             เลือกคำสั่ง  Custom  Animation  (การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง)
3.             Click  mouse  เลือกเอฟเฟคที่ต้องการ
4.             Click  mouse  เลือก  Effect  Options  (ตัวเลือกลักษณะพิเศษ)
5.             Click  mouse  แท็บ  Timing
6.             การกำหนดรูปแบบ  และเวลาในการแสดงกราฟ
7.             Click  mouse  แท็บ  Chart  Animation  (การเคลื่อนไหวของแผนผัง)
8.             ในช่อง  Group  chart  (จัดกลุ่มแผนผัง)
1.             Click  mouse  ปุ่ม  OK
2.             Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดค่า
9.5  จัดการกับเอฟเฟคการแสดงวัตถุในสไลด์
            เราสามารถจัดการกับเอฟเฟคการแสดงแต่ละวัตถุในสไลด์ได้  ตั้งแต่การกำหนดลำดับการแสดงวัตถุในสไลด์  ในกรณีที่สไลด์หนึ่งแผ่นประกอบด้วยหลายวัตถุ  กำหนดเวลาแสดงวัตถุ  และการยกเลิกเอฟเฟคที่กำหนดไว้  โดยเลือกแผ่นสไลด์ที่จะทำงานด้วย  ต่อจากนั้นเลือกคำสั่ง  Slide  Show>Custom  Animation  (นำเสนอ  ภาพนิ่ง>การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง)
1.กำหนดลำดับการแสดงวัตถุในสไลด์
           ถ้าสไลด์แผ่นหนึ่งประกอบด้วยหลายวัตถุ  เราสามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้แสดงวัตถุใดก่อนหลังเพื่อให้สอดคล้องกับคำบรรยายของเรา  เช่น  ให้แสดงข้อความที่เป็นหัวข้อก่อน  แล้วจึงแสดงภาพ  และประเด็นย่อย  โดยให้  Click  mouse  เลือกวัตถุที่ต้องการปรับลำดับในช่อง  Re-Order  (จัดลำดับใหม่)  และ Click  mouse  เลือกปุ่มลูกศรขึ้น  หรือ  ลูกศรลง  เพื่อเลื่อนลำดับการแสดงผลวัตถุนั้นขึ้นหรือลงทีละ 1  ลำดับ
2. วิธีการสั่งให้สไลด์เริ่มต้นแสดงเอฟเฟค
           ในช่อง  Start  (เริ่มต้น)  ถ้าต้องการให้มีการใช้เอฟเฟคในการแสดงวัตถุที่เลือกในสไลด์ โดยการกำหนด
§         On  Click                                สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้หลังจากการ  Click mouse 
§         With  Previous     สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้พร้อมกับวัตถุก่อนหน้านี้ได้ทันที
§         After  Previous     สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้หลังจากแสดงวัตถุชิ้นก่อนหน้านี้ตามค่าเวลาที่กำหนด
3. การยกเลิก  และการดูตัวอย่างวัตถุในสไลด์
§     ถ้าเราไม่ต้องการให้วัตถุที่เลือกใช้เอฟเฟคที่กำหนดไว้ให้  Click  mouse ปุ่ม  Remove
§     ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงเอฟเฟคของวัตถุใหม่  ให้  Click  mouse  ปุ่ม Change
§     ถ้าเราต้องการดูตัวอย่างในการแสดงวัตถุต่างๆ ในสไลด์  ให้  Click mouse  ปุ่ม  Play
§     ถ้าเราต้องการนำเสนอสไลด์  ให้  Click  mouse  ปุ่ม  Slide  Show
§     ถ้าเราต้องการดูการแสดงตัวอย่างโดยอัตโนมัติ  ให้  Click  mouse  เป็น เครื่องหมายถูก ในช่อง  Auto  Preview
9.6  เทคนิคการเปลี่ยนแผ่นสไลด์
          ในขณะที่มีการเปลี่ยนแผ่นสไลด์จากแผ่นหนึ่งไปอีกแผ่นหนึ่ง  สามารถกำหนดเอฟเฟคพิเศษที่เรียกว่า  Transition  เพื่อให้งานพรีเซนดูน่าติดตามได้  เช่น  ให้สไลด์แผ่นใหม่เลื่อนมาทับสไลด์แผ่นเดิมจากด้านบนของจอภาพ  หรือให้สไลด์แผ่นใหม่ค่อยๆ  ปรากฏทับแผ่นเดิม  เป็นต้น  นอกจากนั้นยังสามรถกำหนดให้มีเสียงประกอบได้อีกด้วย  โดยจะกำหนดช่วงเวลาในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์แบบอัตโนมัติหรือให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์  เมื่อ  Click  mouse  ที่สไลด์ก็ได้
1.  Click  mouse  ปุ่ม  ไอคอนตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง  เพื่อเข้าสู่มุมมอง  Slide  Sorter  View
2.  เลือกสไลด์ที่ต้องการกำหนดเอฟเฟคในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์  โดยถ้าต้องการเลือกสไลด์มากกว่า  1 แผ่น  ให้กดปุ่ม  Click  mouse  เลือกสไลด์ที่ต้องการ
3.  เลือกคำสั่ง  Slide  Show>Slide  Transition…  (นำเสนอภาพนิ่ง>การเปลี่ยนภาพนิ่ง)  หรือ  Click mouse  ปุ่ม  Transition
4.  ในกรอบ  Apply  to  selected  slides  (เลือกลักษณะพิเศษ)  ให้เลือเอฟเฟคในการเปลี่ยนสไลด์ได้จากรายการ
5.  ในกรอบ  Speed  เป็นการกำหนดความเร็วในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์  โดยเลือกได้  3  ระดับ
§                   Slow                                     ช้า
§                   Medium                             ช้ามาก
§                   Fast                                           เร็ว
6.  ในกรอบ  Sound  (เสียง)  ให้เลือกเสียงประกอบในขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์  (ถ้าต้องการให้เล่นเสียงต่อเนื่อง  Click  ให้มีเครื่องหมายถูกในช่อง  Loop  until  next  sound  (วนรอบจนถึงเสียงถัดไป)  ด้วย  มิฉะนั้นจะเสียงจะถูกเล่นเพียงครั้งเดียว)
7.  กำหนดว่าต้องการให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์เป็นแบบอัตโนมัติหรือไม่  ในกรอบ  Advance  slide  (เลื่อนภาพนิ่ง)
§                   On  mouse  click  เปลี่ยนแผ่นสไลด์เมื่อมีการ  Click  mouse 
§                   Automatically  after  เปลี่ยนแผ่นสไลด์อัตโนมัติเมื่อครบเวลาที่กำหนด (ระบุในช่องว่าง)
8.  Click  mouse  ปุ่ม  Apply  to  All  Slides  ถ้าจะกำหนด  Transition  นี้ให้มีผลกับสไลด์ทุแผ่น  หรือ Click  mouse  บางสไลด์เพื่อเลือกกำหนดลักษณะเฉพาะอย่างก็ได้
ถ้าเราต้องการเห็นผลลัพธ์ของ  Transition  ขณะทำการเปลี่ยนสไลด์  ให้  Click  mouse  ปุ่ม  Slide  Show เพื่อแสดงสไลด์ในมุมมอง  Slide  Show
  การแทรกเสียงจากแหล่งภายนอก
          การนำเสนองานในบางครั้งจำเป็นจะต้องมีเสียงบรรยายประกอบ  เช่น  เสียงจากธรรมชาติ,  เสียงสัตว์ต่างๆ  หรืออาจจะเป็นเสียงบันทึกคำสัมภาษณ์ของบุคคล  เป็นต้น  ที่ต้องการให้ผู้รับชมการนำเสนองานได้รับฟังจากเสียงจริง  จะได้รับประโยชน์มากกว่าที่ผู้บรรยายเล่าให้ฟังที่ได้ทำการบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล*.mid  ,  *.rmi  หรือ  *.wav  ซึ่งสามารถที่แทรกลงในงานนำเสนอได้  โดยมีขั้นตอนดังนี้


1.                         Click  mouse  เลือกคำสั่ง  Insert>Movies  and  Sounds>Sound  from  File
2.                         Click  mouse  เลือกตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์เสียง
3.                         เลือกไฟล์เสียงที่ต้องการ
4.                         Click  mouse  ที่ปุ่ม  OK
5.                         ปรากฏหน้าต่างให้เราเลือกวิธีการเปิดเล่นไฟล์เสียง  หากเลือก  Yes  จะเป็นการเล่นเสียงอัตโนมัติ  หรือ  No  จะเล่นเสียงเมื่อ  Click  mouse  บนรูป  ไอคอนลำโพงเสียง  (ในตัวอย่างเลือกเล่นเสียงอัตโนมัติ)
6.                         จะปรากฏไอคอนรูปลำโพงเสียง  จากนั้นเลือกย้ายตำแหน่ง  และสามารถที่จะปรับขนาดได้ตามต้องการ
7.                         เมื่อใช้คำสั่งแสดงการนำเสนอ  ( Click  mouse  ปุ่ม  การนำเสนอภาพนิ่ง )  จะปรากฏรูปลำโพงเสียง  แสดงว่ามีเสียงประกอบในสไลด์แผ่นนี้  จากนั้นจะมีเสียงเล่นขึ้นมาอัตโนมัติตามค่าที่เรากำหนดไว้
  การเชื่อมโยงสไลด์
       การนำเสนองาน  เพื่อความสะดวกในขณะนำเสนองาน  สามารถที่จะกำหนดปุ่มปฏิบัติการให้สามารถที่จะเชื่อมโยงไปยังสไลด์ที่ต้องการได้  โดยทั่วไปที่ใช้กันมากที่สุดก็คือเชื่อมโยงไปยังสไลด์ถัดไป,  สไลด์ก่อนหน้า,  กลับไปสู่สไลด์หน้าแรก  และไปยังสไลด์หน้าสุดท้าย  ซึ่งจะทำให้การนำเสนอมีความคล่องตัวมากขึ้น  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้



1.                         Click  mouse  ใช้คำสั่ง    Slide  Show>Action  Buttons
2.                         Click  mouse  เลือกปุ่มปฏิบัติการที่ต้องการ
3.                         Drag  mouse  ปรับขนาดปุ่มปฏิบัติการให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน
4.                         Click  mouse  เลือกแท็บ
     Mouse  Click                          คือ  ปุ่มปฏิบัติการจะทำงานเมื่อ  Click  mouse 
     Mousse  Over                         คือ  ปุ่มปฏิบัติการจะทำงานเมื่อเมาส์ลอยอยู่เหนือ
5.                         เลือกรูปแบบการเชื่อมโยง
     Next  Slide                                   :  ภาพนิ่งต่อไป
     Previous  Slide                           :  ภาพนิ่งก่อนหน้า
     First  Slide                                   :  ภาพนิ่งแรก
     Last  Slide                                    :  ภาพนิ่งสุดท้าย
     Last  Slide  Viewed                   :  ภาพนิ่งหลังสุดที่ได้แสดงไป
     End  Show                                   :  สิ้นสุดนำเสนอ
     Custom  Show                            :  นำเสนอกำหนดเอง
     Slide                                               :  ภาพนิ่ง
     URL                                                :  ระบุที่อยู่   URL
     Other  PowerPoint  Presentation       :  งานนำเสนอ  PowerPoint  อื่นๆ
     Other  File                                   :  แฟ้มอื่นๆ
6.                         Click  mouse  ปุ่ม  OK
  การแก้ไขการเชื่อมโยงสไลด์
               เมื่อต้องการที่จะเปลี่ยน  ค่าการเชื่อมโยงที่ตั้งค่าเอาไว้  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


สรุปท้ายบท
                ในบทนี้เป็นอีกหนึ่งบทที่สำคัญ  เพราะเป็นการใส่เอฟเฟคที่ช่วยเพิ่มความตื่นเต้นในการนำเสนอโดยกำหนดรูปแบบการเปลี่ยนหน้าสไลด์  และการแสดงของแต่ละวัตถุ  ทำให้ดูน่าติดตาม