วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หน่วยที่ 3 การวางโครงร่างและการจัดการกับสไลด์


นอกจากการสร้างงานพรีเซนเตชั่น  และการตกแต่งสไลด์ให้ดูสวยงาม  และน่าติดตาม  โดยใช้ภาพ ข้อความ  และกราฟ  ยังจะต้องพิจารณารายละเอียดในการนำเสนองานพรีเซนเตชั่นด้วย  โดยเมื่อลองทดลองนำเสนอ  งานดูก็จะเห็นว่าสไลด์นั้นถูกนำเสนอแบบเรียบๆ  ซึ่งหากต้องการทำให้งานพรีเซนเตชั่นนั้นดูน่าสนใจกว่านี้  ก็สามารถเพิ่มลูกเล่นหรือเอฟเฟคควบคุมการแสดงภาพองค์ประกอบต่างๆ  ที่เป็นข้อความ  ภาพ  กราฟ  บนสไลด์ได้  และเพิ่มเสียง  หรือภาพยนตร์ที่เร้าใจน่าติดตามได้
  ใส่ลูกเล่นให้กับวัตถุด้วย  Animation  Schemes
                ในสไลด์ที่ประกอบด้วยวัตถุต่างๆ  ที่เป็นข้อความ  ภาพ  และกราฟนั้น  เราสามารถใส่เอฟเฟคให้วัตถุเหล่านี้แสดงเคลื่อนไหวออกมาได้อย่างน่าตื่นเต้น  โดยจะใช้  Animation schemes  ซึ่งเป็นคำสั่งสำเร็จรูปที่ช่วยกำหนดการเคลื่อนไหวให้กับวัตถุในสไลด์ทั้งแผ่น  โดยที่เราไม่ต้องเสียเวลากำหนดเอฟเฟคให้กับวัตถุทีละตัว
1.       Click  mouse  เลือกสไลด์ที่ต้องการกำหนดเอฟเฟคให้กับวัตถุ
2.       เลือกคำสั่ง  Slide  Show>Animation  schemes  (นำเสนอภาพนิ่ง>โครงร่างภาพเคลื่อนไหว)  จะปรากฏรูปแบบลูกเล่นต่างๆ  ให้เลือก
3.       Click  mouse  เลือกเอาเอฟเฟคการเคลื่อนไหว  ซึ่งแต่ละเอฟเฟคนอกจากจะมีการเคลื่อนไหวแล้วยังอาจมีเสียงประกอบด้วย
4.       Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูผลลัพธ์การใส่เอฟเฟคให้กับวัตถุ
9.2  กำหนดลูกเล่นให้กับวัตถุด้วยตนเอง
            ถ้าเทคนิคการแสดงวัตถุที่มีใน  PowerPoint  นั้นยังไม่ถูกใจ  นักพรีเซนที่มีจินตนาการ  และมีความคิดที่สร้างสรรค์ก็สามารถออกแบบรูปแบบการแสดงของแต่ละวัตถุได้เอง  นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มความตื่นเต้นด้วยการใช้เสียงประกอบในระหว่างการแสดงวัตถุได้อีกด้วย  ดังขั้นตอนต่อไปนี้
1.        Click  mouse  ปุ่มขวาเลือกวัตถุที่ต้องการกำหนดเอฟเฟค
2.       เลือกคำสั่ง  Custom  Animation  (การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง)
3.       Click  mouse  ปุ่มไอคอน  Add  Effect  แล้วเลือกเอฟเฟคที่ต้องการ
4.       เลือกวิธีการสั่งให้สไลด์เริ่มต้นแสดงเอฟเฟค  จากตัวเลือกในช่อง  Start  โดย
§   On  Click                            สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้หลังจาก  Click  mouse
§   With  Previous  สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้ต่อจากวัตถุก่อนหน้านี้ได้ทันที
§   After  Previous สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้ต่อจากวัตถุก่อนหน้านี้ตามค่าเวลาที่กำหนด
5.       กำหนดทิศทางที่จะให้วัตถุปรากฏออกมาได้จาก  Direction  ซึ่งจะขึ้นกับชนิดของเอฟเฟคที่เราเลือก  เช่น  Horizontal  ปรากฏในทางแนวนอน  หรือ  Vertical  ปรากฏในทางแนวตั้ง
6.       Click  mouse  กำหนดความเร็วในการแสดงเอฟเฟค  จากช่อง  Speed
§   Very  Slow                          ช้ามาก
§   Slow                                      ช้า
§   Medium                               ปานกลาง
§   Fast                                       เร็ว
§   Very  Fast                           เร็วมาก
7.       Click  mouse  เลือก  Effect  Options  (เพื่อกำหนดค่าต่างๆและเสียงประกอบเอฟเฟค)
8.       Click  mouse  เลือกเสียงประกอบในการแสดงวัตถุ  จากช่อง  Sound
9.       กำหนดสิ่งที่ทำหลังจากแสดงเอฟเฟคเรียบร้อยแล้วจากช่อง After  animation  โดย
§   More  color  กำหนดให้วัตถุเปลี่ยนเป็นสีตามที่กำหนด  หลังจากที่เราทำเอฟเฟคเสร็จแล้ว
§   Don’t  Dim  กำหนดให้วัตถุเป็นเหมือนเดิม  หลังจากที่เราทำเอฟเฟคเสร็จแล้ว
§   Hide  After  Animation  ไม่แสดงวัตถุนี้  หลังจากที่เราทำเอฟเฟคเสร็จแล้ว
§   Hide  on  Next  Mouse  Click  ไม่แสดงวัตถุนี้หลังจาก  Click  mouse  แสดงวัตถุชิ้นต่อไป
10.    Click  mouse  ปุ่ม  OK
11.   Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดค่า
9.3  กำหนดเอฟเฟคให้กับข้อความ
                ตัวอย่างต่อไปนี้จะเพิ่มลูกเล่นให้กับการแสดงข้อความ  โดยให้เคลื่อนที่เข้ามาในสไลด์พร้อมกับเสียงประกอบที่น่าสนใจ
                สำหรับวิธีการกำหนดคุณลักษณะต่างๆ  ของเอฟเฟค  และการตั้งค่าเวลาในการแสดงเอฟเฟคให้กับข้อความนั้น  สามารถทำได้เหมือนกับการกำหนดเอฟเฟคให้กับวัตถุที่เป็นรูปภาพ  แต่จะมีการกำหนดเอฟเฟคการแสดงตัวอักษรในข้อความที่แตกต่างออกไป
ตัวอย่างการใช้เทคนิคแสดงข้อความในสไลด์
1.       Click  mouse  ปุ่มขวาเลือกข้อความที่ต้องการใส่เอฟเฟคในการนำเสนอ
2.       เลือกคำสั่ง  Custom  Animation…(การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง)
3.       Click  mouse  เลือกเอฟเฟคที่ต้องการ
4.       Click  mouse  กำหนดความเร็วของ  Effect
5.       Click  mouse  เลือก  Effect  Options
6.       Click  mouse  เลือกกำหนดทิศทางการแสดงข้อความ
7.       Click  mouse  เลือกเสียงประกอบในการแสดงวัตถุ
8.       ในช่อง  After  animation  ให้กำหนดสิ่งที่ต้องการให้ทำหลังจากแสดงข้อความเสร็จ
§   รายการสี  เปลี่ยนสีข้อความตามสีที่เลือก
(หากเราต้องการใช้สีอื่นที่ไม่มีในรายการ  ให้เลือก  More  Colors…)
§ Don’t  Dim  ไม่ต้องทำอะไรกับข้อความ
§ Hide  After  Animation  ซ่อนข้อความนั้น
§ Hide  on  Next  Mouse  Click  เมื่อ  Click  mouse  ครั้งต่อไปให้ซ่อนข้อความนั้น
9.             ในช่อง  Animate  Text  ให้กำหนดรูปแบบการแสดงข้อความ  ดังนี้
§ All  At  once       แสดงข้อความในแต่ละหัวข้อทั้งหมดพร้อมกัน
§ By  Word             แสดงข้อความทีละคำ
§ By  Letter            แสดงข้อความทีละตัวอักษร
10.          Click  mouse  แท็บ  Text  Animation
11.          ในช่อง  Group  text  ให้กำหนดรูปแบบการแสดงข้อความเป็นกลุ่ม  ดังนี้
§ As  one  object  จะแสดงหัวข้อแต่ละหัวข้อเรียงลงมาจนหมดข้อความ
§ All  paragraphs  at  once  จะแสดงหัวข้อ  และหัวข้อย่อยทั้งหมดในครั้งเดียว
§ By  1st  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  1  ขึ้นก่อนและจะแสดงหัวข้อลำดับที่  1  ตัวถัดไป
§ By  2nd  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อลำดับหนึ่งก่อน  และจะแสดงหัวและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  2
§ By  3rd  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อลำดับหนึ่งก่อน  ตามด้วยหัวข้อที่  2  และแสดงหัวข้อและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  3
§ By  4th  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อลำดับหนึ่งก่อน  ตามด้วยหัวข้อที่  2  ตามด้วยหัวข้อที่  3  และแสดงหัวข้อและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  4
§ By  5th  level  paragraphs  จะแสดงหัวข้อลำดับหนึ่งก่อน  ตามด้วยหัวข้อที่  2  ตามด้วยหัวข้อที่  3      ตามด้วยหัวข้อที่  4  และแสดงหัวข้อและหัวข้อย่อยที่อยู่ในลำดับที่  5
              ในกรณีที่มีการจัดการข้อความในสไลด์เป็นหัวข้อย่อยหลายระดับ  (กำหนดได้ในมุมมอง  Outline View)  เราสามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้แสดงข้อความให้อิงกับระดับหัวข้ออย่างไร  เช่น  ถ้าเราเลือก 1st  จะเป็นการแสดงหัวข้อย่อยทั้งหมดซึ่งอยู่ในลำดับที่หนึ่งพร้อมกัน
               แต่ถ้าเราเลือก  2nd  จะเป็นการเริ่มโดยแสดงหัวข้อในลำดับหนึ่งก่อน  ต่อจากนั้นเมื่อเรา  Click mouse  หรือถึงเวลาที่กำหนดจึงแสดงหัวข้อย่อยที่เหลือที่อยู่ในลำดับที่  2
              ถ้าเราเลือก  In  reverse  order  จะเป็นการแสดงลำดับหัวข้อย่อยตามที่กำหนดในขั้นตอนที่แล้วจากหลังมาหน้า  แทนจากหน้ามาหลัง
1.              Click  mouse  ปุ่ม  OK
2.             Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดค่า
9.4  กำหนดเอฟเฟคในการนำเสนอกราฟ
          การใช้เอฟเฟคในการนำเสนอกราฟจะทำให้สามารถสั่งแสดงกราฟทีละส่วนได้  เช่น  สำหรับการแสดงกราฟยอดขายตามช่องทาง  อาจให้แสดงกราฟของแต่ละช่องทางได้ทีละชุด  เป็นต้น


1.             Click  mouse  ปุ่มขวาเลือกกราฟที่จะกำหนดเอฟเฟค
2.             เลือกคำสั่ง  Custom  Animation  (การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง)
3.             Click  mouse  เลือกเอฟเฟคที่ต้องการ
4.             Click  mouse  เลือก  Effect  Options  (ตัวเลือกลักษณะพิเศษ)
5.             Click  mouse  แท็บ  Timing
6.             การกำหนดรูปแบบ  และเวลาในการแสดงกราฟ
7.             Click  mouse  แท็บ  Chart  Animation  (การเคลื่อนไหวของแผนผัง)
8.             ในช่อง  Group  chart  (จัดกลุ่มแผนผัง)
1.             Click  mouse  ปุ่ม  OK
2.             Click  mouse  ปุ่ม  Play  เพื่อดูตัวอย่างที่ได้จากการกำหนดค่า
9.5  จัดการกับเอฟเฟคการแสดงวัตถุในสไลด์
            เราสามารถจัดการกับเอฟเฟคการแสดงแต่ละวัตถุในสไลด์ได้  ตั้งแต่การกำหนดลำดับการแสดงวัตถุในสไลด์  ในกรณีที่สไลด์หนึ่งแผ่นประกอบด้วยหลายวัตถุ  กำหนดเวลาแสดงวัตถุ  และการยกเลิกเอฟเฟคที่กำหนดไว้  โดยเลือกแผ่นสไลด์ที่จะทำงานด้วย  ต่อจากนั้นเลือกคำสั่ง  Slide  Show>Custom  Animation  (นำเสนอ  ภาพนิ่ง>การเคลื่อนไหวที่กำหนดเอง)
1.กำหนดลำดับการแสดงวัตถุในสไลด์
           ถ้าสไลด์แผ่นหนึ่งประกอบด้วยหลายวัตถุ  เราสามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้แสดงวัตถุใดก่อนหลังเพื่อให้สอดคล้องกับคำบรรยายของเรา  เช่น  ให้แสดงข้อความที่เป็นหัวข้อก่อน  แล้วจึงแสดงภาพ  และประเด็นย่อย  โดยให้  Click  mouse  เลือกวัตถุที่ต้องการปรับลำดับในช่อง  Re-Order  (จัดลำดับใหม่)  และ Click  mouse  เลือกปุ่มลูกศรขึ้น  หรือ  ลูกศรลง  เพื่อเลื่อนลำดับการแสดงผลวัตถุนั้นขึ้นหรือลงทีละ 1  ลำดับ
2. วิธีการสั่งให้สไลด์เริ่มต้นแสดงเอฟเฟค
           ในช่อง  Start  (เริ่มต้น)  ถ้าต้องการให้มีการใช้เอฟเฟคในการแสดงวัตถุที่เลือกในสไลด์ โดยการกำหนด
§         On  Click                                สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้หลังจากการ  Click mouse 
§         With  Previous     สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้พร้อมกับวัตถุก่อนหน้านี้ได้ทันที
§         After  Previous     สั่งให้แสดงวัตถุชิ้นนี้หลังจากแสดงวัตถุชิ้นก่อนหน้านี้ตามค่าเวลาที่กำหนด
3. การยกเลิก  และการดูตัวอย่างวัตถุในสไลด์
§     ถ้าเราไม่ต้องการให้วัตถุที่เลือกใช้เอฟเฟคที่กำหนดไว้ให้  Click  mouse ปุ่ม  Remove
§     ถ้าเราต้องการเปลี่ยนแปลงเอฟเฟคของวัตถุใหม่  ให้  Click  mouse  ปุ่ม Change
§     ถ้าเราต้องการดูตัวอย่างในการแสดงวัตถุต่างๆ ในสไลด์  ให้  Click mouse  ปุ่ม  Play
§     ถ้าเราต้องการนำเสนอสไลด์  ให้  Click  mouse  ปุ่ม  Slide  Show
§     ถ้าเราต้องการดูการแสดงตัวอย่างโดยอัตโนมัติ  ให้  Click  mouse  เป็น เครื่องหมายถูก ในช่อง  Auto  Preview
9.6  เทคนิคการเปลี่ยนแผ่นสไลด์
          ในขณะที่มีการเปลี่ยนแผ่นสไลด์จากแผ่นหนึ่งไปอีกแผ่นหนึ่ง  สามารถกำหนดเอฟเฟคพิเศษที่เรียกว่า  Transition  เพื่อให้งานพรีเซนดูน่าติดตามได้  เช่น  ให้สไลด์แผ่นใหม่เลื่อนมาทับสไลด์แผ่นเดิมจากด้านบนของจอภาพ  หรือให้สไลด์แผ่นใหม่ค่อยๆ  ปรากฏทับแผ่นเดิม  เป็นต้น  นอกจากนั้นยังสามรถกำหนดให้มีเสียงประกอบได้อีกด้วย  โดยจะกำหนดช่วงเวลาในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์แบบอัตโนมัติหรือให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์  เมื่อ  Click  mouse  ที่สไลด์ก็ได้
1.  Click  mouse  ปุ่ม  ไอคอนตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง  เพื่อเข้าสู่มุมมอง  Slide  Sorter  View
2.  เลือกสไลด์ที่ต้องการกำหนดเอฟเฟคในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์  โดยถ้าต้องการเลือกสไลด์มากกว่า  1 แผ่น  ให้กดปุ่ม  Click  mouse  เลือกสไลด์ที่ต้องการ
3.  เลือกคำสั่ง  Slide  Show>Slide  Transition…  (นำเสนอภาพนิ่ง>การเปลี่ยนภาพนิ่ง)  หรือ  Click mouse  ปุ่ม  Transition
4.  ในกรอบ  Apply  to  selected  slides  (เลือกลักษณะพิเศษ)  ให้เลือเอฟเฟคในการเปลี่ยนสไลด์ได้จากรายการ
5.  ในกรอบ  Speed  เป็นการกำหนดความเร็วในการเปลี่ยนแผ่นสไลด์  โดยเลือกได้  3  ระดับ
§                   Slow                                     ช้า
§                   Medium                             ช้ามาก
§                   Fast                                           เร็ว
6.  ในกรอบ  Sound  (เสียง)  ให้เลือกเสียงประกอบในขณะเปลี่ยนแผ่นสไลด์  (ถ้าต้องการให้เล่นเสียงต่อเนื่อง  Click  ให้มีเครื่องหมายถูกในช่อง  Loop  until  next  sound  (วนรอบจนถึงเสียงถัดไป)  ด้วย  มิฉะนั้นจะเสียงจะถูกเล่นเพียงครั้งเดียว)
7.  กำหนดว่าต้องการให้เปลี่ยนแผ่นสไลด์เป็นแบบอัตโนมัติหรือไม่  ในกรอบ  Advance  slide  (เลื่อนภาพนิ่ง)
§                   On  mouse  click  เปลี่ยนแผ่นสไลด์เมื่อมีการ  Click  mouse 
§                   Automatically  after  เปลี่ยนแผ่นสไลด์อัตโนมัติเมื่อครบเวลาที่กำหนด (ระบุในช่องว่าง)
8.  Click  mouse  ปุ่ม  Apply  to  All  Slides  ถ้าจะกำหนด  Transition  นี้ให้มีผลกับสไลด์ทุแผ่น  หรือ Click  mouse  บางสไลด์เพื่อเลือกกำหนดลักษณะเฉพาะอย่างก็ได้
ถ้าเราต้องการเห็นผลลัพธ์ของ  Transition  ขณะทำการเปลี่ยนสไลด์  ให้  Click  mouse  ปุ่ม  Slide  Show เพื่อแสดงสไลด์ในมุมมอง  Slide  Show
  การแทรกเสียงจากแหล่งภายนอก
          การนำเสนองานในบางครั้งจำเป็นจะต้องมีเสียงบรรยายประกอบ  เช่น  เสียงจากธรรมชาติ,  เสียงสัตว์ต่างๆ  หรืออาจจะเป็นเสียงบันทึกคำสัมภาษณ์ของบุคคล  เป็นต้น  ที่ต้องการให้ผู้รับชมการนำเสนองานได้รับฟังจากเสียงจริง  จะได้รับประโยชน์มากกว่าที่ผู้บรรยายเล่าให้ฟังที่ได้ทำการบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล*.mid  ,  *.rmi  หรือ  *.wav  ซึ่งสามารถที่แทรกลงในงานนำเสนอได้  โดยมีขั้นตอนดังนี้


1.                         Click  mouse  เลือกคำสั่ง  Insert>Movies  and  Sounds>Sound  from  File
2.                         Click  mouse  เลือกตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์เสียง
3.                         เลือกไฟล์เสียงที่ต้องการ
4.                         Click  mouse  ที่ปุ่ม  OK
5.                         ปรากฏหน้าต่างให้เราเลือกวิธีการเปิดเล่นไฟล์เสียง  หากเลือก  Yes  จะเป็นการเล่นเสียงอัตโนมัติ  หรือ  No  จะเล่นเสียงเมื่อ  Click  mouse  บนรูป  ไอคอนลำโพงเสียง  (ในตัวอย่างเลือกเล่นเสียงอัตโนมัติ)
6.                         จะปรากฏไอคอนรูปลำโพงเสียง  จากนั้นเลือกย้ายตำแหน่ง  และสามารถที่จะปรับขนาดได้ตามต้องการ
7.                         เมื่อใช้คำสั่งแสดงการนำเสนอ  ( Click  mouse  ปุ่ม  การนำเสนอภาพนิ่ง )  จะปรากฏรูปลำโพงเสียง  แสดงว่ามีเสียงประกอบในสไลด์แผ่นนี้  จากนั้นจะมีเสียงเล่นขึ้นมาอัตโนมัติตามค่าที่เรากำหนดไว้
  การเชื่อมโยงสไลด์
       การนำเสนองาน  เพื่อความสะดวกในขณะนำเสนองาน  สามารถที่จะกำหนดปุ่มปฏิบัติการให้สามารถที่จะเชื่อมโยงไปยังสไลด์ที่ต้องการได้  โดยทั่วไปที่ใช้กันมากที่สุดก็คือเชื่อมโยงไปยังสไลด์ถัดไป,  สไลด์ก่อนหน้า,  กลับไปสู่สไลด์หน้าแรก  และไปยังสไลด์หน้าสุดท้าย  ซึ่งจะทำให้การนำเสนอมีความคล่องตัวมากขึ้น  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้



1.                         Click  mouse  ใช้คำสั่ง    Slide  Show>Action  Buttons
2.                         Click  mouse  เลือกปุ่มปฏิบัติการที่ต้องการ
3.                         Drag  mouse  ปรับขนาดปุ่มปฏิบัติการให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน
4.                         Click  mouse  เลือกแท็บ
     Mouse  Click                          คือ  ปุ่มปฏิบัติการจะทำงานเมื่อ  Click  mouse 
     Mousse  Over                         คือ  ปุ่มปฏิบัติการจะทำงานเมื่อเมาส์ลอยอยู่เหนือ
5.                         เลือกรูปแบบการเชื่อมโยง
     Next  Slide                                   :  ภาพนิ่งต่อไป
     Previous  Slide                           :  ภาพนิ่งก่อนหน้า
     First  Slide                                   :  ภาพนิ่งแรก
     Last  Slide                                    :  ภาพนิ่งสุดท้าย
     Last  Slide  Viewed                   :  ภาพนิ่งหลังสุดที่ได้แสดงไป
     End  Show                                   :  สิ้นสุดนำเสนอ
     Custom  Show                            :  นำเสนอกำหนดเอง
     Slide                                               :  ภาพนิ่ง
     URL                                                :  ระบุที่อยู่   URL
     Other  PowerPoint  Presentation       :  งานนำเสนอ  PowerPoint  อื่นๆ
     Other  File                                   :  แฟ้มอื่นๆ
6.                         Click  mouse  ปุ่ม  OK
  การแก้ไขการเชื่อมโยงสไลด์
               เมื่อต้องการที่จะเปลี่ยน  ค่าการเชื่อมโยงที่ตั้งค่าเอาไว้  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้


สรุปท้ายบท
                ในบทนี้เป็นอีกหนึ่งบทที่สำคัญ  เพราะเป็นการใส่เอฟเฟคที่ช่วยเพิ่มความตื่นเต้นในการนำเสนอโดยกำหนดรูปแบบการเปลี่ยนหน้าสไลด์  และการแสดงของแต่ละวัตถุ  ทำให้ดูน่าติดตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น