วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 10 โปรเเกรมตัดต่อวีดีโอ ulead videostudio



โปรเเกรมตัดต่อวีดีโอ ulead videostudio






ในที่นี้ จะใช้ UleadVideoStudio 11.0 เป็นตัวอย่าง



เมื่อติดตั้งตัวโปรแกรมแล้ว ก็เปิดการใช้งาน 



เลือกที่ VideoStudio Editor เพื่อสร้างไฟล์วีดีโอ



หน้าตาของตัวโปรแกรมในขณะใช้งาน 




ตรงส่วนนี้จะมีให้เลือกหน้าตาในการปรับแต่งไฟล์วีดีโอ







จากนั้นให้ Right Click ที่ช่องแนบไฟล์ เพื่อเลือกไฟล์ภาพ หรือวีดีโอ 




เลือกไฟล์ที่ต้องการใส่ในวีดีโอ สามารถลากเมาส์เพื่อเลือกทีละมากกว่าหนึ่งไฟล์ จากนั้นกด Open 





หากต้องการใส่เพลงให้กับวีดีโอ ก็ให้ Right Click แล้วเลือกแนบไฟล์ Audio 





เลือกเพลงที่ต้องการ แล้วกด Open




ก็จะได้เช่นนี้




พึงจดจำ หมั่นเซฟไฟล์โปรเจคเป็นระยะๆ เพื่อว่าหากมีข้อขัดข้อง โปรแกรมไม่ทำงาน เรายังสามารถเรียกงานเดิมกลับมาทำใหม่ได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ ! 




ไฟล์ที่ได้มา จะเป็นนามสกุล .VSP เป็นไฟล์โปรเจคของโปรแกรม Ulead




นอกจากไฟล์ภาพแล้ว ยังสามารถแนบไฟล์วีดีโอ มาสร้างไฟล์ร่วมกันได้ 











จากนั้นเป็นการปรับแต่งไฟล์วีดีโอที่จะทำ


Effect : การใส่แอนนิเมชั่นให้รูปภาพและไฟล์วีดีโอ





ยังมีอีเฟคต่างๆ ให้เลือกตามที่ต้องการ





อีเฟคระหว่างไฟล์ เราสามารถจับลากให้สั้นยาวได้ตามต้องการ แต่จะต้องคอยปรับความยาวของภาพและไฟล์ด้วยตามลำดับ เนื่องจากอีเฟคเหล่านี้จะย่นความยาวของไฟล์โดยอัตโนมัติ เพื่อแทรกแอนนิเมชั่น

Tips :

เนื่องจากมีอีเฟคมากมายให้เลือก แต่มิใช่ว่าเราจะใช้ทั้งหมด เราสามารถเลือกเพียงแค่ไม่กี่อย่าง ที่เราชอบและใช้บ่อย ไว้ในหมวดที่ฉันชื่นชอบ เพื่อเรียกใช้ได้สะดวกขึ้น ด้วยการ Right Click --> Add to My Favorites





หลังจากเพิ่มอีเฟคหมดแล้ว ก็ปรับแต่งความยาวของแต่ละไฟล์ตามต้องการ




Title : การใส่ข้อความลงในวีดีโอ

เป็นการใส่ข้อความต่างๆ ลงบนหน้าจอวีดีโอ สำหรับยูหลีด11 สามารถใส่ภาษาจีนได้ แต่ยูหลีด10 ไม่แสดงผลภาษาจีน

แอนนิเมชั่นข้อความ ที่มากับตัวโปรแกรม ก็มีให้เลือกสรรมากมายอยู่แล้ว เราสามารถเลือกแอนนิเมชั่นที่เราต้องการ แล้วจับลากลงช่อง Text





Doubble Click ที่กล่องข้อความ เพื่อทำการแก้ไขปรับแต่งต่างๆ





ส่วนนี้คือการปรับตำแหน่งของกล่องข้อความ 



ส่วนนี้คือการปรับแต่งฟอนต์ และอีเฟคต่างๆ ของข้อความ 



ถัดไป คือการปรับแต่งแอนนิเมชั่นของกล่องข้อความ ในการแสดงผล
ติ๊กที่ Apply animation เพื่อให้แสดงผลแอนนิเมชั่นของกล่องข้อควา




ส่วนนี้คือการปรับแต่งเพิ่มเติม ของการแสดงผลแอนนิเมชั่น

ในการแก้ไขข้อความ ให้ Doubble Click ที่กล่องข้อความที่หน้าจอ จึงจะสามารถเปลี่ยนข้อความได้ 



เช่นกัน กล่องข้อความก็สามารถลากสั้นยาวได้ตามที่ต้องการ



Audio : การปรับแต่งไฟล์ออดิโอของวีดีโอ

เป็นการปรับแต่งต่างๆ ให้กับไฟล์เสียง เช่น ปรับเสียง หรืออีเฟคอื่นๆ เพิ่มเติม (สามารถค่อยๆ ศึกษาต่อภายหลัง)

คลิ้กที่ไฟล์ออดิโอ



ในส่วนนี้คือการปรับแต่ง ส่วนของการแยกลำโพงซ้ายขวานั้นเหมาะกับการสร้างวีดีโอ จากไฟล์วีดีโอที่มีการพากษ์เสียงมากกว่าหนึ่งภาษา หรือไฟล์คาราโอเกะ เราสามารถปรับตรงนี้เพื่อเลือกภาษาเดียว หรือเลือกแค่เสียงคาราโอเกะ



เมื่อเสร็จสิ้นการปรับแต่งเบื้องตน ก็ถึงลำดับของการสร้างไฟล์วีดีโอ คลิ้กที่ Share เพื่อสร้างไฟล์ 



เลือกรูปแบบไฟล์ที่ต้องการจะสร้าง ในกรณีของการสร้างไฟล์วีดีโอ สำหรับทำแผ่นวีซีดี แนะนำให้เลือก mpeg2 ซึ่งเป็นไฟล์ชนิดเดียวกันกับ mpeg1 แต่คุณภาพรูปภาพจะชัดกว่า mpeg1 หนึ่งเท่าตัว
หรือจะเลือกเป็น SVCD หรืออื่นๆ ก็ได้เช่นกัน



หลังจากนั้นก็ปล่อยให้โปรแกรมเรนเดอร์ไฟล์วีดีโอ (สร้างไฟล์วีดีโอ) ในระหว่างนี้ ไม่ควรเปิดโปรแกรมอื่นๆ มาใช้งาน เพื่อว่าจะได้ไฟล์ที่มีคุณภาพดีที่สุด



ลูกเล่นเพิ่มเติม !

การสร้างไฟล์วีดีโอ ยังสามารถเพิ่มฉากหลังให้กับวีดีโออีกด้วย ด้วยการแยกการแนบไฟล์ไว้สองบรรทัด โดยที่บรรทัดบนคือฉากหลัง บรรทัดล่างคือฉากหลัก
(ในการแนบไฟล์ภาพหรือวีดีโอ มันอาจจะอยู่บนบรรทัดบนหมด เพียงแค่จับลากมาไว้บรรทัดล่าง ก็สามารถแยกได้ จากนั้นก็ตามปรับลำดับภาพต่างๆ ตามที่ต้องการ



สำหรับฉากหลัง การเพิ่มอีเฟค จะเป็นดังเช่นด้านบนที่อธิบายไว้ แต่สำหรับฉากหลัก การเพิ่มแอนนิเมชั่นจะไม่เหมือนกัน
เริ่มแรกคือการปรับขนาดหน้าจอฉากหลัก ด้วยการคลิ้กที่หน้าต่างนั้นๆ แล้วลากขนาดตามที่ต้องการ



เมื่อปรับขนาดตามที่ต้องการแล้ว และปรับแต่งแอนนิเมชั่นอื่นๆ เสร็จสิ้นแล้ว และต้องการให้ไฟล์อื่นๆ มีขนาดเดียวกัน ให้ Right Click ที่ไฟล์นั้นๆ แล้วเลือก Copy Attributes
จากนั้นให้ Right Click ที่ไฟล์อื่นๆ แล้วเลือก Past Attribues เพื่อให้แสดงผลแอนนิเมชั่นอย่างเดียวกัน



ตรงส่วนนี้จะเป็นการปรับแอนนิเมชั่นของฉากหลัก ส่วนที่ติ๊กไว้ คือให้แสดงผลของการซูมรูปภาพ



เสร็จสิ้น ไฟล์วีดีโอที่ได้ ก็จะมีฉากหลังที่เราต้องการ ให้ดูเพลินตาอีกต่อหนึ่ง 

บทที่ 9 งานสร้างนำเสนอแบบวีดีโอ


2.5 งานสร้างนำเสนอแบบวีดีโอ
                ปัจจุบันงานวีดีโอมีบทบาทมากขึ้นงานนำเสนอ ประกอบกับราคาของกล้องวีดีโอที่ถูกลงมากทำให้เราสามารถซื้อมาเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก เราจึงสามารถนำวีดีโอที่ได้บันทึกมาสร้าง
งานนำเสนอด้วยการตัดต่อภาพหรือใส่เสียงประกอบ ซึ่งโปรแกรม
Ulead จะช่วยให้เราสามารถสร้างงานภาพยนตร์ได้
จุดประสงค์1. ผู้เรียนบอกถึงแนวคิดการสร้างงานวีดีโอได้    
การเรียนรู้2. ผู้เรียนบอกคุณสมบัติเกี่ยวกับวีดีโอได้ 
                                  3. ผู้เรียนบอกแนวทางการเตรียมการสร้างงานวีดีโอได้          
4. มีความรู้ความสามารถในการทำงานบนโปรแกรม
Ulead
สาระ                              1. ประโยชน์ของงานวีดีโอ
    การเรียนรู้              2. แนวคิดการสร้างงานวีดีโอ
                                         3. เครื่องมือในการสร้างงานวีดีโอ
                                         4. ส่วนประกอบต่างๆ ของโปรแกรม Ulead       
                                         5. ไฟล์วีดีโอประเภทต่างๆ
การวัดและ                  ทักษะพิสัย       มีกระบวนการวางแผน และปฏิบัติได้ตรงตาม
   การประเมินผล                                              เป้าหมายที่กำหนด
                                                                       พุทธิพิสัย                           มีความจำ ความเข้าใจ และการนำไปประยุกต์ให้เกิด
                                                                                                                           ประโยชน์ต่อการเรียนหรือการใช้ชีวิตประจำวัน
                                                                       จิตพิสัย                                ปฏิบัติได้ตามศักยภาพที่มีอยู่ ตรงต่อเวลา และสนใจ
                                  ในการสืบค้นหาความรู้ ทุกช่วงโอกาสเพื่อพัฒนาตนเอง
งานวีดีโอเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรามากขึ้น ไม่ว่าจาเป็นการการนำเสนองานจากภาพนื่ง มาสู่งานวีดีโอเพิ่มความน่าสนใจขึ้นหรือการบันทึกเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เป็นต้น ประกอบกับกล้องวีดีโอที่มีราคาถูกลงมามาก ทำให้หลายคนซื้อมาเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักงานวีดีโอและประโยชน์อันหลากหลายของงานวีดีโอ พร้อมโปรแกรมสำหรับงานตัดต่อวีดีโอยอดฮิตอย่าง Ulead VideoStudiov.11
ประโยชน์ของงานวีดีโอ   
               
ปัจจุบันงานวีดีโอได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นในแทบทุกวงการ นั้นเป็นเพราะต้นทุนกานผลิตที่ถูกลงและเทคนิคการตัดต่อจากโปรแกรมต่างๆ ที่รวดเร็วง่ายดาย ส่งผลให้หน่วยงานทั่วไปหันมาใช้วีดีโอเป็นสื่อทดแทนการนำเสนอในรูปแบบเดิมๆในที่นี้จาขอแนะนำประโยชน์
ของงานวีดีโอเบื้องต้นดังต่อไปนี้
แนะนำองค์กรและหน่วยงาน         
               
การสร้างงานวีดีโอเพื่อนำสนานที่ต่างๆหรือในนำเสนอข้อมูลภายในหน่วยงาน
และองค์กรถูกนำเข้ามาใช้เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กลับผู้ฟัง และก่อให้เกิดความเข้าใจในตัวงานได้ง่ายขึ้น
บันทึกความทรงจำ และเหตุการณ์สำคัญต่างๆ            
               
ในอดีตเมื่อเราไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ หรือจัดงานพิเศษ        เช่น งานวันเกิด งานแต่งงาน งานรับปริญญา งานเลี้ยง ของบริษัทเรานิยมเก็บภาพเหล่านั้นไว้ในรูปแบบของภาพถ่ายที่เป็นภาพนิ่งเสียเป็นส่วนใหญ่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่บันทึกความทรงจำเหล่านั้นไว้ในรูปแบบของวีดีโอ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาไปมากในปัจจุบันทำให้กล้องวีดีโอมี่ราคาต่ำลง จึงสามารถหาซื้อ
มาเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก    
               


รูปที่ 2.98ใช้งานวีดีโอ ถูกนำเข้ามาใช้แทนการเสนอแบบเดิมเช่น แผ่นใส หรือสไลด์หรือสไลด์                                  
                เราสามารถสร้างไตเติ้ลใส่ดนตรีประกอบพากษ์เสียงบรรยายและใส่เทคนิคพิเศษต่างๆ
ลงไปในงานวีดีโอที่ถ่ายมาโดยคลิกปุ่มไม่กี่ปุ่มเท่านั้นเอง ซึ่งเราจะได้เรียนรู้วิธีการเหล่านี้ในบท
ต่อๆไป                          
               

                รูปที่ 2.99กล้องวีดีโอปัจจุบันราคาต่ำลงมากและสามารถเป็นเจ้าของได้ไม่ยาก
ทำสื่อการสอนเพื่อการศึกษา           
               
คุณครูสามารถสร้างสื่อการสอนในรูปแบบวีดีโอได้เช่นสื่อการสอนสนทนาภาษาอังกฤษ คุณครูอาจสัมภาษณ์ชาวต่างชาติที่มาอยู่ในเมืองไทยหรือจัดทำเป็นวีดีโอสอนวิธีใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เป็นต้น                                                          



รูปที่ 2.100ใช้งานวีดีโอมาช่วยในการสร้างสื่อ การสอน
นำเสนอรายงาน วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยต่างๆ       
               
เปลี่ยนวิธีนำเสนอรายงานจากการใช้เพียงภาพประกอบ แผ่นชาร์ต หรือแผ่นใส มานำเสนอในรูปแบบของวีดีโอก็จะทำให้ผู้ฟังบรรยายได้เห็นภาพชัดเจนขึ้น และเกิดความเข้าได้ง่าย น่าสนใจกว่าการนำเสนอที่มีแต่ข้อมูลและภาพนิ่งเพียงอย่างเดียว
วีดีโอสำหรับบุคคลพิเศษ 
                บุคคลพิเศษในที่นี้อาจหมายถึงวิทยากรที่เราเชิญมาบรรยายผู้จัดการที่กำลังจะเกษียณอายุ เจ้าของวันเกิด คู่บ่าวสาว เพื่อเป็นการให้เกียรติและสร้างความประทับใจให้กับเจ้าของงาน และยังช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีไม่น้อย   



รูปที่ 2.101ตัวอย่างการจัดทำวีดีโอให้สำหรับงานแต่งให้กับคู่บ่าวสาว
                ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้เรามองเห็นความสำคัญของงานวีดีโอมากขึ้น และได้รู้ว่าการทำวีดีโอนั้น ไม่ได้ลงทุนมากและยุ่งยากในการทำอย่างที่คิด


แนวคิดในการสร้างงานวีดีโอ         
                ก่อนที่เราจะลงมือสร้างผลงานวีดีโอสักเรื่องหนึ่งสิ่ง 
ที่ไม่ควรทำก็คือการลงมือไปถ่ายวีดีโอแล้วนำมาตัดต่อเลย       
โดยไม่ได้คิดให้ดีก่อนว่าจะถ่ายทำอย่างไรบ้างเพราะ 
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือ การไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ       
เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ               
ในส่วนนี้จึงขอแนะนำแนวคิดในการทำงานวีดีโออย่าง            
มีประสิทธิภาพตรงตามความต้อง ไม่ต้องมาแก้ไขภายหลัง     
โดยมีลำดับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานวีดีโอเบื้องต้นดังนี้
                                                                            รูปที่ 2.102แนวคิดในการสร้างงานวีดีโอ
ระบบโทรทัศน์ในปัจจุบัน
               
เนื่องจากงานวีโอส่วนใหญ่ที่เราตัดต่อเรียบร้อยแล้วมักจะต้องนำไปเปิดกับโทรทัศน์
เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจเรื่องระบบของโทรทัศน์กันพอสมควร              
                                               



รูปที่ 2.103ระบบโทรทัศน์ปัจจุบัน
ระบบโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ทั่วไปในโลกนี้มีอยู่ 3 ระบบด้วยกัน ได้แก่
ระบบ PAL        เป็นระบบที่มีความคมชัดค่อนข้างสูง แต่การเคลื่อนไหวของภาพจะไม่ราบรื่นเท่ากับระบบอื่น ความเร็วในการแสดงผล (Frame Rate) อยู่ที่ 25 เฟรมต่อวินาที ประเทศที่ใช้ระบบนี้ได้แก่ ประเทศแถบยุโรป แอฟริกาใต้ และเอเชียบางประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย
ระบบ NTSC     เป็นอีกระบบหนึ่งที่มีความนิยมสูง แม้จะมีความชัดสู้ระบบ PAL ไม่ได้ แต่การเคลื่อนไหวจะราบรื่นกว่า การแสดง Frame Rate อยู่ที่ 29.79 เฟรมต่อวินาที นิยมใช้ในแถบประเทศอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
ระบบ SECAM เป็นระบบที่ใช้กันอยู่ในแถบแอฟริกาเหนือ ประเทศโซนตะวันออกกลางและ
                                ฝรั่งเศส  การแสดง   Frame Rate  อยู่ที่ 25 เฟรมต่อวินาที เช่นกัน มีความคมชัดสูง
                                และการเคลื่อนไหวของภาพราบรื่น
ความละเอียดของภาพ (Resolution  )         
               
ความละเอียดของภาพคือส่วนที่บอกว่าวีดีโอของเราที่ออกมานั้นจะมีคุณภาพ และความคมชัดมากน้อยเพียงใด ค่า Resolution  นี้จะเป็นตัวเลขแสดงขนาดความยาวต่อความกว้างของหน้าจอ ซึ่งจะมีขนาดแตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้
ลักษณะงาน
Resolution (ความยาว x ความกว้าง)
VCD
352 x 288 (PAL) , 352 x 240 (NTSC)
SVCD
480 x 576 (PAL),  480 x 480 (NTSC)
DVD
720 x 576 (PAL), 720 x 480  (NTSC)





รูปที่ 2.104ความละเอียดของภาพ

                                                               
รูปที่ 2.105เขียน Storyboard            รูปที่ 2.106 เตรียมองค์ประกอบต่างๆ



รูปที่ 2.107  ตัดต่องานวีดีโอ             รูปที่ 2.108ใส่เอฟเฟ็กต์ตัดต่อเสียง                 
รูปที่ 2.109แปลงวีดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง

ขั้นตอนที่ 1 การเขียน Storyboard               
               
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวีดีโอก็คือ การเขียน Storyboard ซึ่งก็คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ขึ้นมาก่อนที่จะไปถ่ายทำจริง สำหรับการทำภาพยนตร์ทั่วไปนั้นจะมีการเขียน Storyboard ก่อนเสมอ เพื่อจะทำให้ฉากและภาพที่มีองค์ประกอบต่างๆตรงตาม
ความต้องการมากที่สุด และเพื่อป้องกันการตกหล่นในระหว่างถ่ายทำ เพราะถ้าต้องมาถ่ายซ่อม
ทีหลังนั้นก็ไม่สะดวก






รูปที่ 2.110ลองวาด Storyboard อย่างง่ายๆ เพื่อกำหนดลำดับฉาก และมุมกล้องที่ต้องการ
                ในการเขียน Storyboardของเรานั้นอาจจะใช้วิธีง่ายๆไม่จำเป็นต้องถึงขนาดวาดภาพก่อนเพียงแค่เขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไร หรือเป็นงานประเภทไหน จากนั้น
ดูว่าเราต้องการภาพอะไรบ้าง เขียนออกมาเป็นฉากๆ เรียงลำดับ 1
,2,3,4ไปเรื่อยๆ            
                ตัวอย่างเช่น ถ้าเรารับอาสาไปถ่ายวีดีโองานแต่งงาน เราก็ควรจะไปคุยกับเจ้าภาพงานเสียก่อนว่าจะมีกิจกรรมอะไรที่สำคัญบ้าง  ในช่วงเวลาใด จากนั้นเราก็มาสรุปว่าจะต้องถ่ายภาพบรรยากาศอะไรภายในงานบ้าง ซึ่งจะทำให้เราได้ภาพบรรยากาศครบถ้วน ตรงตามวัตถุประสงค์ทั้งหมด

ขั้นตอนที่ 2 เตรียมองค์ประกอบต่างๆที่ต้องใช้
                ในการทำงานวีดีโอเราจำเป็นต้องเตรียมองค์ประกอยต่างๆไม่ว่าจะเป็นไฟล์วีดีโอ
ไฟล์เสียงดนตรีให้พร้อม เพื่อช่วยให้การทำงานของเรารวดเร็วยิ่งขึ้น



รูปที่ 2.111เตรียมวัตถุดิบโดยการลง มือถ่ายทำ
·       ไฟล์วีดีโอจากภาพยนตร์ สารคดีหรือ ข่าว
หากเรามีภาพยนตร์ สารคดีหรือข่าว เราสามารถนำมาใช้ตัดต่อได้โดยอาจจะต้องมีการแปลงไฟล์บ้างเช่น ถ้าเป็นภาพยนตร์ที่มาจากแผ่นวีซีดีหรือดีวีดี ก็นำมาแปลงเป็นไฟล์
ที่สามารถใช้ตัดต่อได้เสียก่อน  ซึ่งในโปรแกรม
VideoStudiov.11 ก็มีฟังก์ชันช่วยในการแปลงภาพยนตร์เหล่านี้ด้วย
                ส่วนสารคดีหรือข่าวที่อยู่ในโทรทัศน์ เราก็สามารถนำมาใช้ได้โดยการ
ต่อสายสัญญาณออกจากทีวีมาเข้าที่การ์ดสำหรับนำเข้าวีดีโอในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แล้วทำการบันทึก

·       การถ่ายทำวีดีโอเอง           
               
แหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือการไปถ่ายทำเอง เมื่อได้จัดทำ Storyboard เรียบร้อย
ก็ลงมือถ่ายทำได้เลย

·       การเตรียมไฟล์เสียงและการบรรยาย            
               
องค์ประกอบต่อมาก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของเสียง เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจงานวีดีโอของเราดนตรีที่ใช้ในงานวีดีโอนั้นอาจได้มาจากไฟล์ MP3
ที่เรามีอยู่ก็ได้ ส่วนเสียงบรรยายนั้นเราต้องบันทึกลงไปในคอมพิวเตอร์เอง
ขั้นตอนที่3 การตัดต่อวีดีโอ (ให้สอดคล้องกับ Storyboard)  
               
ขั้นต่อมาก็คือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นวีดีโอ งานวีดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ



รูปที่ 2.112การตัดต่อวีดีโอโดยใช้โปรแกรม VideoStudio v.11
ขั้นตอนที่ 4 ใส่เอฟเฟ็กต์/ตัดต่อสียง             
               
ก่อนที่จะจบขั้นตอนการตัดต่อ เราควรตกแต่งงานวีดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานเรามีสีสัน และน่าติดตามมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 5 แปลงวีดีโอเพื่อนำไปใช้งานจริง               
               
ขั้นตอนสุดท้ายในการทำงานวีดีโอก็คือ การทำงานที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน ซึ่งในโปรแกรมVideoStudiov.11นั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น วีซีดี ดีวีดี หรือ
เป็นไฟล์
WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต



รูปที่ 2.113ผลงานที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบ


เครื่องมือสำหรับงานตัดต่อวีดีโอ   
               
ก่อนเริ่มลงมือนำเข้าวีดีโอเข้ามาในเครื่อง และเริ่มตัดต่อไฟล์วีดีโอด้วยโปรแกรม Ulead  VideoStudiov.11ส่วนนี้เป็นอุปกรณ์ต่างๆที่เราควรเตรียมให้พร้อมสำหรับงานตัดต่อวีดีโอ
เครื่องคอมพิวเตอร์           
               
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมในการนำมาใช้สำหรับตัดต่อวีดีโอควรมีสเป็คเครื่องขั้นต่ำดังนี้                                                                                                       
               


รูปที่ 2.114คอมพิวเตอร์
                ซีพียู แนะนำ Pentium 3 ความเร็ว 700MHzขึ้นไป   
                แรมหรือหน่วยความจำ ขนาด 256
MB ขึ้นไป (แนะนำว่าควรใช้ที่มีขนาด 512 MB
เป็นอย่างต่ำ เพื่อให้การตัดต่อวีดีโอทำได้รวดเร็วขึ้น) 
                ฮาร์ดดิสก์ 600
MB สำหรับการติดตั้งโปรแกรม Ulead  VideoStudiov.11และ5 GB สำหรับ
ใช้เก็บไฟล์วีดีโอสำหรับการตัดต่อ (ขนาดของพื้นที่ว่างที่ต้องการจะขึ้นอยู่กับความยาวของวีดีโอ
ที่เราต้องการนำมาตัดต่อยิ่งยาวมาก พื้นที่ฮาร์ดดิสก์ก็ต้องมากขึ้น  เพื่อจะเพียงพอในการจัดเก็บข้อมูล)        ระบบปฏิบัติการ แนะนำให้ใช้
Windows XP หรือ Windows 2000 และเลือกสร้างระบบจัดเก็บไฟล์บนฮาร์ดดิสก์เป็น NTFS เพื่อสามารถทำงานร่วมกับไฟล์วีดีโอที่มีขนาดใหญ่เกิน
4
GB ได้
               
กล้องถ่ายวีดีโอ   
               
อุปกรณ์ชิ้นต่อมาที่เป็นหัวใจหลักของงานวีดีโอก็คือ กล้องถ่ายวีดีโอนั้นเองในอดีตกล้องถ่ายวีดีโอมีราคาหลักแสนบาทขึ้นไปแต่ปัจจุบันเทคโนโลยีได้ทำให้กล้องถ่ายวีดีโอราคาถูกลงมาเหลือราคาเริ่มต้นเพียงแค่หมื่นกว่าบาทเท่านั้นซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป



รูปที่ 2.115กล้องวีดีโอสำหรับบันทึกภาพวีดีโอเพื่อใช้ในงานตัดต่อ
การ์ดแคปเจอร์ หรือการ์ดจับภาพวีดีโอ        
               
เนื่องจากเราจำเป็นต้องนำภาพวีดีโอที่ถ่ายมาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ เพื่อผ่านกระบวนการตัดต่อแต่เราไม่สามารถที่จะนำวีดีโอจากกล้องเข้ามาที่เครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรงได้ จำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยเป็นเสมือนสื่อกลางในการส่งถ่ายข้อมูล อุปกรณ์ตัวนั้นเราเรียกว่า การ์ดแคปเจอร์ (Capture Card)
                                                                                ด้วยการ์ดแคปเจอร์ เราสามมารถแปลงวีดีโอ      
                                                                                จากกล้องวีดีโอเครื่องเล่นวีดีโอหรือแม้แต่           
                                                                                รายการทีวีมาที่คอมพิวเตอร์ได้

รูปที่ 2.116การ์ดแคปเจอร์
การ์ดแคปเจอร์ในปัจจุบันมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน  มีทั้งแบบติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์ และแบบภายนอก หารเรามีการ์ดแคปเจอร์ก็สามารถแปลงวีดีโอมาเก็บไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่า
จะเป็นภาพจากกล้องวีดีโอ จากเครื่องเล่นวีดีโอเทป หรือแม้แต่ต้องการอัดรายการโปรดของเรา
ที่ออกอากาศทางทีวีได้      

โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ        
               
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการตัดต่อวีดีโอก็คือ โปรแกรมสำหรับตัดต่อ ปัจจุบันมีโปรแกรมสำหรับตัดต่อเป็นจำนวนมาก มีทั้งแบบมือสมัครเล่นและแบบมืออาชีพเพื่อรองรับการทำงาน
ที่หลากหลายมากขึ้นซึ่งจะขอยกตัวอย่างบางโปรแกรมดังนี้



                                                                                                                 โปรแกรมPinnacle Studio



โปรแกรม Adobe Premiere Pro



โปรแกรม Sony Vegas



โปรแกรม Ulead VideoStudio
รูปที่ 2.117 โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ
ไดร์ฟสำหรับเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี   
               
อุปกรณ์ชิ้นต่อมาที่เราจำเป็นต้องมี หากต้องการสร้างวีดีโอให้อยู่ในรูปแบบของวีซีดีหรือ
ดีวีดีนั่นก็คือ ไดร์ฟสำหรับเขียนซีดี หรือไดร์ฟสำหรับเขียนดีวีดี ซึ่งปัจจุบันไดร์ฟทั้งสองประเภท
มีราคาถูกลงมาก

คุณสมบัติต่างๆ ที่เราควรทราบเกี่ยวกับงานวีดีโอ      
               
นอกจากเรื่องอุปกรณ์แล้ว สิ่งสำคัญลำดับต่อมาที่เราควรสร้างเพื่อเตรียมสร้างงาน
ด้านวีดีโอก็คือคุณสมบัติต่างๆเกี่ยวกับงานด้านนี้ เพื่อจะทำให้เราเกิดความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้งานตามความเหมาะสมได้มากที่สุด
ไฟล์วีดีโอประเภทต่างๆ    
               
ไฟล์วีดีโอที่ใช้งานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการบีบอัดของวีดีโอประเภทนั้นซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติหรือความละเอียดของภาพต่างๆ
กันไป นอกจากนั้นเมื่อเราสร้างงานวิดีโอเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการแปลงงานออกมาให้เป็นไฟล์วีดีโอ ซึ่งหากเราทำความเข้าใจ กับประเภทของไฟล์วีดีโอต่างๆได้ดี ก็จะสามารถเลือกไฟล์วีดีโอที่ต้องการนำเสนอในงานต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมซึ่งโดยทั่วไป มีดังต่อไปนี้
AVI(Audio Video Interactive)    
               
เป็นไฟล์วีดีโอที่เป็นมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ทั่วไป (ในเครื่องแมคอินทอช จะมีไฟล์วีดีโอมาตรฐานเป็น MOV)ซึ่งไฟล์วีดีโอแบบ AVI นี้จะมีการบีบอัดข้อมูลทำให้ภาพและเสียงคมชัดแต่ไฟล์วีดีโอจะมีขนาดใหญ่มาก และขนาดไฟล์วีดีโอจะขึ้นอยู่กับการกำหนดของเรา หรือเครื่องมือในการจับภาพวีดีโอ
DV (Digital Video)          
               
ในกรณีที่เราใช้กล้องดิจิตอลวีดีโอ Digital 8 หรือ MiniDV และจับภาพวีดีโอเข้ามาซึ่งไฟล์ DV นี้จะมีนามสกุลเป็น AVI เช่นเดียวกัน แต่จะมีการกำหนดของขนาด Resolution เท่ากับ 720x576 และค่า Bit rate เท่ากับ 36000 KB/s ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่มาก เหมาะสำหรับเก็บเป็นไฟล์ต้นฉบับมากกว่า เพราะจะทำให้ได้ภาพที่คมชัดมาสร้างเป็นงานในรูปแบบอื่นๆ เช่น วีซีดี หรือดีวีดี เป็นต้น
MPEG 
               
เป็น ฟอร์แม็ตไฟล์วีดีโอที่ถูกบีบอัด ซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีขนาดเล็ก และมีคุณภาพหลากลายตั้งแต่คมชัดที่สุด ไปจนถึงความละเอียดในระดับที่พอใช้ โดยมีหลายรูปแบบดังนี้            
               
MPEG 1 เป็นไฟล์วีดีโอที่เหมาะสำหรับใช้เป็นไฟล์พื้นฐานที่จะนำไปสร้างเป็นแผ่น
                                  ภาพยนตร์วีซีดี มีความละเอียดของภาพปานกลาง   
               
                MPEG 2 เป็นไฟล์วีดีโอที่มีคุณภาพสูง มีความคมชัดของภาพในระดับดี เหมาะสำหรับ
ไปใช้เป็นต้นฉบับสร้างแผ่นภาพยนตร์ดีวีดี เพราะภาพคมชัดสูงสุดเมื่อเทียบกับไฟล์
                                 ตระกูล
MPEG ด้วยกัน    
               
MPEG 4 เป็นไฟล์ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากมีคุณภาพการแสดงผล
                               
ใกล้เคียงกับดีวีดี แต่มีขนาดไฟล์เล็ก  เหมาะสำหรับนำไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต
                                  ซึ่งปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้น ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อของ
DivX
                                  หรือ
XviD
WVM (Windows Media Video) 
               
เป็นไฟล์วีดีโอที่ทางบริษัทไมโครซอฟท์ปรับขึ้น เพื่อใช้ร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows โดยจะให้มาเป็นไฟล์วีดีโอมาตรฐานที่ใช้ร่วมกับโปรแกรม WindowsMedia Player ซึ่งปัจจุบัน กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น
RM (Streaming RealVideo)        
                RM ที่ได้รับการพัฒนาจากบริษัท Real  Networkเป็นรูปแบบไฟล์วีดีโอที่ใช้เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า Streaming ซึ่งจะมีความคมชัดของภาพและเสียงต่ำ เพื่อให้เหมาะสำหรับ การเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต
MOV    
                MOV เป็นไฟล์วีดีโอที่ใช้ร่วมกับโปรแกรม Quick Time ผลิตเพื่อใช้กับเครื่อง Apple เป็นหลักแต่ก็สามารถทำงานร่วมกับ Windows ได้ด้วย
DivX    
                เป็นรูปแบบการบีบอัดวีดีโอที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไฟล์วีดีโอ
ที่ได้มีขนาดเล็ก และคุณภาพที่ได้อยู่ในระดับดีมาก ใกล้เคียงกับภาพยนตร์ จากแผ่นดีวีดี โดย
DivX  เป็นรูปแบบวีดีโอที่ได้มาจากการนำไฟล์วีดีโอดีวีดีมาบีบอัด ซึ่งเราเรียกไฟล์ฟอร์แม็ตที่นำมาทำเป็น DivX  ว่าMPEG 4 นั่นเอง แต่ว่าส่วนใหญ่ยังสามารถเล่นได้บนคอมพิวเตอร์เท่านั้น ยังมีเครื่องเล่น
วีซีดี/ดีวีดี ที่รองรับไฟล์นี้มามากนัก



XviD
              มีรูปแบบการพัฒนาที่คล้ายคลึงกับ DivX แตกต่างกันที่ XviD เป็นแบบ Open Source หรือเป็นของฟรีนั่นเอง สามารถนำไปพัฒนาเพิ่มเติมต่อได้ไฟล์วีดีโอทั้งแบบ DivX และ XviD นั้นจะมีนามสกุล .AVI โดยการเล่นไฟล์วีดีโอบนเครื่อง
มาตรฐานวีดีโอประเภทต่างๆ          
                หลังตัดต่อ/ปรับไฟล์วีดีโอเรียบร้อยแล้ว วีดีโอจะถูกปรับแต่งและสร้างออกมาในรูปแบบมาตรฐานต่างๆดังต่อไปนี้ ซึ่งเป็นมาตรฐานวีดีโอที่สามารถเปิดเล่นได้ทั้งบนคอมพิวเตอร์ และเครื่องเล่นวีซีดี/ดีวีดีทั่วไป
VCD
เป็นไฟล์วีดีโอที่ถูกจัดเก็บในมาตรฐาน MPEG -1 มีค่าResolution และ Bit rate ไม่สูงนัก ทำให้ไฟล์มีขนาดเล็กสามารถบรรจุภาพยนตร์ 1 เรื่องลงไปใน
แผ่นซีดี 2 แผ่นได้เป็นมาตรฐานที่บ้านเราก็ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่ในอนาคตไม่ไกลนี้ก็อาจจะไม่ใช้
แล้วก็ได้ เพราะจะถูกแทนที่ด้วยระบบดีวีดี
DVD                                                                      เป็นไฟล์วีดีโอที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ   เพราะราคาแผ่นและไดร์ฟเขียนดีวีดีก็ถูกลงมามากแล้วมีความคมชัดกว่าวีซีดี และSVCD  เพราะแม้จะใช้มาตรฐานMPEG -2 เช่นเดียวกับ SVCD แต่มีค่า Resolution , Bit rate และ Fps สูงกว่า แถมขนาดของแผ่นก็มีความจุถึง4.7 GB ทำให้ สามารถเก็บภาพยนตร์ที่มีมาตรฐาน  MPEG –2ได้ทั้งเรื่อง


                                                                SVCD  (Super Video Compact Disc)
เป็นมาตรฐานใหม่ของการเล่นไฟล์วีดีโอที่เพิ่มมาจากวีซีดี หรือรูปแบบมาตรฐาน MPEG -1 แต่เป็นมาตรฐานในรูปแบบของ MPEG -2 ซึ่งส่วนเพิ่มเติมนี้เอง ที่ทำให้ไฟล์ มีคุณภาพสูงกว่าวีซีดี เพราะมีค่าResolution , Bit rate และ Fps สูงกว่าวีซีดี ทำให้ไฟล์ภาพยนตร์ 1 เรื่องต้องใช้แผ่นซีดีถึง 3 แผ่น และที่สำคัญก็คือ SVCD  ไม่ได้รับการยอมรับมากนัก เพราะถูกตีตลาดด้วยระบบดีวีดีนั่นเอง (แต่ในกรณีที่เราไม่มีเครื่องเขียนดีวีดี แต่ต้องการงานที่มีคุณภาพสูงก็สามารถใช้เครื่องซีดีเขียนเป็นระบบ SVCD ได้

ระบบต่างๆ
อัตรา Frame Rate (fps)
ฟิล์มภาพยนตร์ทั่วไป
24/s.
โทรทัศน์ระบบ PAL
25/s.
โทรทัศน์ระบบ NTSC
29.79/s.
รูปที่ 2.118 มาตรฐานวีดีโอประเภทต่างๆ
ความเร็วในการแสดงภาพ (Frame Rate)                   
                ความเร็วในการแสดงภาพที่เราใช้ในภาพยนตร์นั้น จะมีหน่วยเป็นภาพต่อวินาที ซึ่งเราเรียกว่า
Frame Rate โดยความเร็วในการแสดงภาพที่จะทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวนั้นอย่างน้อยจะต้องมี Frame Rateประมาณ 7-10 ภาพต่อวินาที (fps : Frame per Second)ซึ่งภาพยนตร์การ์ตูนสมัยก่อนจะใช้ต่อเนื่องแสดงการเคลื่อนไหวอยู่ประมาณ 12 เฟรมต่อวินาที ปัจจุบันการแสดงภาพ
ที่ใช้เป็นภาพยนตร์จะมี
Frame Rate อยู่ที่ประมาณ 24 เฟรมต่อวินาที นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับการกำหนดในแต่ละระบบที่ได้กล่าวถึงข้างต้นด้วย

รูปที่ 2.119 ความเร็วในการแสดงภาพ
อัตราการส่งข้อมูล (Data Rate)     
               
อัตราการส่งข้อมูลเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ภายใน 1 วินาที (เช่นเดียวกับคำว่า  Bit Rate  ซึ่งเป็นความไวในการส่งข้อมูลเช่นกัน) การกำหนด Data Rate นี้
หากเรากำหนดให้มีขนาดใหญ่ก็จะทำให้คุณภาพของภาพดีไปด้วย แต่ข้อเสียก็คือจะกินเนื้อที่
ในฮาร์ดดิสก์มากตามไปด้วย (ในกรณีที่เรามีเนื้อที่มากพอก็คงไม่มีปัญหา เมื่อทำงานเสร็จแล้ว
ก็สามารถลบทิ้งภายหลังได้)
การบีบอัดข้อมูล(Compression)   
               
ไฟล์วีดีโอเป็นการแสดงภาพที่มีความต่อเนื่องจำนวนมากอย่างรวดเร็ว ทำให้การเก็บหรือการบันทึกไฟล์วิดีโอ  ลงในฮาร์ดดิสก์ก็ต้องใช้พื้นที่จำนวนมากด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีการ
บีบอัดข้อมูล (
Compression)เพื่อทำให้ขนาดของไฟล์เล็กลงหรือเรียกว่า ระบบเข้ารหัส (Codec)ไฟล์วีดีโอที่มีการเข้ารหัสที่เราได้ยินบ่อยๆก็คือ MPEG –1, MPEG –2, MPEG –4หรือDivXเป็นต้น            
               
การเข้ารหัสให้กับภาพยนตร์นี้ สามารถทำได้โดยใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ตัวอย่างของฮาร์ดแวร์เช่น การ์ดแคปเจอร์ทั่วไป ซึ่งมีฟังก์ชันในการเข้ารหัสอยู่แล้ว (บีบอัดข้อมูลขณะนำไฟล์วีดีโอเข้ามาในคอมพิวเตอร์)ซอฟแวร์จะเป็นโปรแกรมที่ใช้บีบอัดไฟล์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์แล้ว
ได้
Panasonic Encoder, Window Media  Encoder ,  MpegDJ  Encoder , Xing Mpeg  Encoder
เป็นต้นซึ่งเราส่ามารถดาวน์โหลดได้ตามเว็บไซต์ของโปรแกรมต่างๆ

สรุป
                การเรียนรู้ในบทนี้จะทำให้เราเข้าถึงหลักการสร้างงานวีดีโอสำหรับ เพื่อนำไปใช้งาน     นำเสนอในงานด้านต่างๆ และยังได้ทำความรู้จักกับประเภทของไฟล์ที่เหมาะสมกับงานวีดีโอ
แต่ละชนิดด้วย